พระเครื่องฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ

193

พระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ เมื่อปี พ.ศ. 2500 ได้มีพิธีพุทธาภิเษกพระเครื่องที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเมืองไทยและเป็นที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกด้วย และนอกจากนี้ยังได้มีการสร้างพระพุทธลีลา สูง 2,500 นิ้ว (62.50 ม.) บนเนื้อที่ 2,500 ไร่ ที่ตำบลศาลายา อ.นครปฐม (พุทธมณฑลปัจจุบัน) กับได้สร้าง พระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ ทั้งหลายขึ้น ซึ่งมีรายละเอียดในการจัดสร้างดังต่อไปนี้

  • คณะกรรมการจัดสร้างพระเครื่องในงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
  • นายพลตำนวจเอก เผ่า ศรียานนท์ ประธานกรรมการ

คณะกรรมการจัดสร้างพระเครื่องในงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ มีหน้าที่จัดสร้างพระเครื่องเพื่อเป็นที่ระลึกในงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ เพื่อแจกจ่ายและสมนาคุณ แก่ประชาชนผู้มีจิตศรัทธาบริจาคเงิน สมทบทุนในการสร้างพุทธมณฑล คณะกรรมการจัดสร้างพระเครื่องฯ ได้จัดการดำเนินงานไปแล้ว และจะจัดการต่อไปตามลำดับนี้

คณะกรรมการจัดสร้างพระเครื่องฯ ได้อนุมัติ เงินทุนในการสร้างพระเครื่องครั้งนี้ เป็นเงิน 5,000,000 บาท (ห้าล้านบาทถ้วน) เพื่อทำการสร้างพระ 2 แบบ คือ

พระเนื้อชิน

อันประกอบด้วย พลวง, ดีบุก, ตะกั่วดำผสมด้วยนวโลหะ คือ ชินหนัก 1 บาท, เจ้าน้ำเงินหนัก 2 บาท, เหล็กละลายตัวหนัก 3 บาท เหล็กบริสุทธิ์ หลัก 4 บาท, ปรอท หนัก 5 บาท, สังกะสีหนัก 6 บาท ทองแดงหนัก 7 บาท, เงินหนัก 8 บาท, ทองคำหนัก 9 บาท, ตลอดจนแผ่นทองแดง, ตะกั่ว, เงินที่พระอาจารย์ต่าง ๆ เกือบทั้งราชอาณาจักร ได้ลงเลขยันต์คาถาส่งมาให้และเศษชนวนหล่อพระในพิธีแห่งอื่น ๆ รวมหล่อผสมลงไปในคราวนี้ด้วย

พระผง (ดิน)

ผสมด้วยผงเกษรดอกไม้ 108 อย่าง ตลอดจนผสมด้วยดินหน้าพระอุโบสถ จากพระอาจารย์ต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักรและผงพุทธาคมต่าง ๆ ที่บรรดาพระอาจารย์ได้มอบให้มารวมทั้งพระผงต่าง ๆ แบบของโบราณและของพระอาจารย์ต่าง ๆ ที่ได้สร้างไว้แต่โบราณกาล อันได้ส่งอุทิศมาให้ผสมรวมเป็นผงในครั้งนี้ด้วยมากมายหลายแห่ง ลำดับสี การเผาดินพระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ จากเริ่มจนถึงสุดท้าย สีจะเข้มจนดำไปในที่สุด

จำนวนพระที่สร้างในครั้งนี้

  1. พระเนื้อชิน 2,421,250 องค์
  2. พระเนื้อดิน 2,421,250 องค์
  3. สร้างพระพุทธรูปบูชาทองคำแบบพุทธลีลา ลักษณะเดียวกับพระองค์ใหญ่ ซึ่งจะสร้างที่พุทธมณฑล สูงองค์ละ 9 ซม. 4 องค์ ทองคำหนักรวม 55 บาท พระพุทธรูปทองคำนี้ ได้ให้กองพระษาปณ์ กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง เป็นผู้จัดสร้าง

จัดการสร้างพระเครื่องทองคำ

แบบลักษณะและขนาดเดียวกับพระเนื้อชินใช้ทองคำหนักองค์ละประมาณ 6 สลึง โดยให้สร้างเป็นจำนวนเพียง 2,500 องค์การสร้างพระเครื่องทองคำ ตามข้อนี้ ได้ใช้ทุนโดยวิธีเรียกเงินล่วงหน้าจากผู้สั่งจององค์ละ 1,000 บาท ส่วนเงินสมทบทุนอันแท้จริงนั้นองค์ละ 2,500 บาท เมื่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้สั่งจองจะต้องส่งเงิน ส่วนที่เหลืออีก 1,500 บาท เวลามาขอรับองค์พระไป

คณะกรรมการหาทุนและรับสั่งของสมทบทุนในการสร้างพุทธมณฑลอันมีพระยาสามราชภักดี

ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานกรรมการดำเนินงานอยู่นั้น ได้แจ้งความจำนงมายังคณะกรรมการนี่ว่า
เดิมที่ได้มีมติดังต่อไปนี้

  1. ผู้ใดบริจาคเงินสมทบทุนสร้างพุทธมณฑล 10,000 บาท จะได้พระทองคำหนักประมาณ 1 บาท เป็นของสมนาคุณ 1 องค์
  2. ผู้ใดบริจาคเงินสมทบทุน 1,000 บาท จะได้พระเงินหนักประมาณ 1 บาท เป็นของสมนาคุณ 1 องค์

การสร้างพระสมนาคุณนี้คณะกรรมการจะต้องสร้างเพื่อมอบเป็นของสมนาคุณมีจำนวนดังนี้

  1. พระทองคำ 15 องค์
  2. พระนาก 30 องค์
  3. พระเงิน 300 องค์

เงินค่าสร้างพระทั้ง 3 ชนิดนี้ เป็นเงินทุนจากที่ได้รับไว้แล้ว และจะดำเนินการสร้างให้เสร็จในคราวเดียว กับที่ได้สร้างพระเครื่องชินและผง (ดิน) ดังกล่าวแล้วด้วย

เหรียญ 25 พุทธศตวรรษ เนื้อทองคำ

จุดตำหนิ ด้านหน้า

  • ดูฐานบัว มีเม็ดหนึ่งเม็ด
  • ดูรัศมีด้านซ้าย มีเส้นแตกถึงหัวไหล่

จุดตำหนิ ด้านหลัง

  • ดูปลายอุด้านขวามีเส้นเกิน
  • ดูหางตัวอุติดขอบยันต์
  • มีตัวมะ เส้นแตก 

เหรียญ 25 พุทธศตวรรษ เนื้อเงิน

จุดตำหนิ ด้านหน้า

  • ดูฐานบัว มีเม็ดหนึ่งเม็ด
  • ดูรัศมีด้านซ้าย มีเส้นแตกถึงหัวไหล่ จุดตำหนิ ด้านหลัง
  • ดูปลายอุด้านขวามีเส้นเกิน
  • ดูหางตัวอุติดขอบยันต์
  • มีตัวมะ เส้นแตก

การสร้างพระเครื่อง

ได้ลงมือทำพิธีปลุกเสกสรรพสิ่งตลอด 3 วัน 3 คืน ในพระอุโบสถวัดสุทัศน์เทพวราราม ราชวรมหาวิหาร มีสมเด็จพระราชาคณะ, เจริญพระพุทธมนต์ 25 รูป พระคณาจารย์ปลุกเสก บรรจุพุทธาคมครบ 108 รูป

  1. พระครูอาคมสุนทร อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
  2. พระครูสุนทรสมาธิวัตร อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
  3. พระญาณาภิรัต อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
  4. พระครูพิบูลย์บรรณวัตร อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
  5. พระครูสุนทรศีลาจารย์ อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
  6. พระครูพิศาลสรกิจ อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
  7. พระมหาสวน อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
  8. พระอำนวย อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
  9. พระปลัดสุพจน์ อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
  10. พระครูวิสิษฐ์วิหารการ อ.พระนคร วัดชนะสงคราม จ.พระนคร
  11. พระสุธรรมธีรคุณ (หลวงพ่อวงษ์) วัดสระเกศ จ.พระนคร
  12. พระอาจารย์สา อ.พระนคร วัดชนัดดาราม จ.พระนคร
  13. พระปลัดแพง อ.พระนคร วัดมหาธาตุฯ จ.พระนคร
  14. พระวิสุทธิสมโพธิ อ.พระนคร วัดพระเชตุพนฯ จ.พระนคร
  15. พระวรเวทย์คุณาจารย์ อ.พระนคร วัดพระเชตุพนฯ จ.พระนคร
  16. พระครูฐาปนกิจประสาท อ.พระนคร วัดพระเชตุพนฯ จ.พระนคร
  17. พระอินทรสมาจารย์ อ.พระนคร วัดพระเชตุพนฯ จ.พระนคร
  18. พระครูวินัยธรเฟื่อง อ.พระนคร วัดสัมพันธ์วงศ์ จ.พระนคร
  19. พระครูภักดิ์ อ.พระโขนง วัดบึงทองหลาง จ.พระนคร
  20. พระครูกัลญาณวิสุทธิ อ.ยานนาวา วัดดอนทวาย จ.พระนคร
  21. พระอาจารย์มี อ.ยานนาวา วัดสวนพลู จ.พระนคร
  22. พระอาจารย์เหมือน อ.บางเขม วัดโรงหีบ จ.พระนคร
  23. พระหลวงวิจิตร อ.ดุสิต วัดสะพานสูง จ.พระนคร
  24. พระอาจารย์หุ่น อ.มีนบุรี วัดบางขวด จ.พระนคร
  25. พระราชโมลี อ.บางกอกน้อย วัดระฆัง จ.ธนบุรี
  26. หลวงวิชิตชโสธร วัดสันติธรรมาราม จ.ธนบุรี
  27. พรครูโสภณกัลญานุวัตร วัดกัลญาณมิตร จ.ธนบุรี
  28. พระครูภาวนาภิรัต อ.บางขุนเทียน วัดหนัง จ. ธนบุรี
  29. พระครูทิวากรคุณ อ.ตลิ่งชัน วัดตลิ่งชัน จ.ธนบุรี
  30. พระครูไพโรจน์วุฒิคุณ วัดโพธินิมิตร จ.ธนบุรี
  31. พระครูญาณสิทธิ์ อ.ตลิ่งชัน วัดราชสิทธาราม จ.ธนบุรี
  32. พระอาจารย์มา อ.ตลิ่งชัน วัดราชสิทธาราม จ.ธนบุรี
  33. พระอาจารย์หวน อ.ตลิ่งชัน วัดพิกุล จ.ธนบุรี
  34. พระมหาธีวัฒน์ อ.ภาษีเจริญ วัดปากน้ำ จ.ธนบุรี
  35. พระอาจารย์จ้าย อ.ภาษีเจริญ วัดปากน้ำ จ.ธนบุรี
  36. พระอาจารย์อินทร์ อ.ภาษีเจริญ วัดปากน้ำ จ.ธนบุรี
  37. พระครูกิจจาภิรมย์ อ.บางกอกใหญ่ วัดอรุณราชวราราม จ.ธนบุรี
  38. พระครูวินัยสังวร อ.ธนบุรี วัดประยูรวงศวาส จ.ธนบุรี
  39. พระสุขุมธรรมาจารย์ อ.ธนบุรี วัดหงษ์รัตนราม จ.ธนบุรี
  40. พระครูพรหมวินิต อ.ธนบุรี วัดหงษ์รัตนาราม จ.ธนบุรี
  41. พระอาจารย์อิน อ.คลองสาน วัดสุวรรณอุบาสิการ จ.ธนบุรี
  42. พระครูวิริยกิจ อ.คลองสาน วัดประดู่ฉิมพลี จ.ธนบุรี
  43. พระปรีชานนทมุนี อ.บางบัวทอง วัดโมลี จ.นนทบุรี
  44. พระครูปลัดแฉ่ง (หลวงพ่อแฉ่ง) อ.ปากเกร็ด วัดศรีรัตนาราม จ.นนทบุรี
  45. พระปลัดยัง (หลวงพ่อยัง) อ.ปากเกร็ด วัดบางจาก จ.นนทบุรี
  46. พระอาจารย์สมจิต วัดป่ากระเหรี่ยง จ.ราชบุรี
  47. พระอาจารย์แทน อ.เมือง วัดธรรมเสน จ.ราชบุรี
  48. พระครูบิน อ.บางแพ วัดแก้ว จ.ราชบุรี
  49. พระอินทร์เขมาจารย์ อ.เมือง วัดช่องลม จ.ราชบุรี
  50. พระธรรมวาทีคณาจารย์ อ.เมือง วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
  51. พระครูสังฆวิชัย วัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม
  52. พระอาจารย์สำเนียง อ.บางเลน วัดเวทุนาราม จ.นครปฐม
  53. พระอาจารย์เต๋ อ.กำแพงแสน วัดสามง่าม จ.นครปฐม
  54. พระอาจารย์แปลก อ.เมือง วัดสระบัว จ.ปทุมธานี
  55. พระครูปลัดทุ่ง อ.เมือง วัดเทียมถวาย จ.ปทุมธานี
  56. พระครูบวรธรรมกิจ อ.เมือง วัดโบสถ จ.ปทุธานี
  57. พระครูโสภณสมาจารย์ อ.เมือง วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี
  58. พระครูวิสุทธิรังษี อ.เมือง วัดเหนือ จ.กาญจนบุรี
  59. พระมุจจรินโมฬี อ.หนองจิก วัดมุจจริน จ.ปัตตานี
  60. พระครูรอด อ.เมือง วัดประดู่ จ.นครศรีธรรมราช
  61. พระครูวิศิษฐ์อรรถการ อ.ฉวาง วัดสวนขวัญ จ.นครศรีธรรมราช
  62. พระครูสิทธิธรรมาจารย์ (พระอาจารย์ลี) อ.เมือง วัดโศกการาม จ.สมุทรปราการ
  63. พระอาจารย์บุตร อ.เมือง วัดใหม่บางปลากด จ.สมุทรปราการ
  64. พระอาจารย์แสวง อ.พระประแกง วัดกลางสวน จ.สมุทรปราการ
  65. พระครูศิริสรคุณ อ.เมือง วัดท้ายหาด จ.สมุทรสงคราม
  66. พระครูสมุทรสุนทร อ.เมือง วัดพวงมาลัย จ.สมุทรสงคราม
  67. พระสทุธิสารวุฒาจารย์ อ.อัมพวา วัดเสด็จ จ.สมุทรสงคราม
  68. พระอาจารย์อ๊วง อ.อันพวา วัดบางคณาทอง จ.สมุทรสงคราม
  69. พระครูไพโรจน์วุฒาจารย์ (รุ่ง) อ.กระทุ่มแบน วัดท่ากระบือ จ.สมุทรสาคร
  70. พระครูวิเศษสมุทรคุณ อ.กระทุ่มแบน วัดดอนไก่ดี จ.สมุทรสาคร
  71. พระครูสักขิตวันมุนี อ.เมือง วัดป่าเลไลย์ จ.สุพรรณบุรี
  72. พระอาจาย์แต้ม อ.เมือง วัดพระลอย จ.สุพรรณบุรี
  73. พระครูโฆษิตธรรมสาร (ครื้น) อ.เมือง วัดสังโฆ จ.สุพรรณบุรี
  74. พระครูวรกิจวินิจฉัย (พริ้ง) อ.เมือง วัดวรจันทร์ จ.สุพรรณบุรี
  75. พระครูสำฤทธิ์ (เอี้ยง) อ.เมือง วัดอู่ทอง จ.สุพรรณบุรี
  76. พระวรพจน์ปัญญาจารย์ องเมือง วัดอรัญญิการาม จ.ชลบุรี
  77. พระครูธรรมาวุฒิคุณ อ.เมือง วัดเสม็ด จ.ชลบุรี
  78. พระครูธรรมธร (หลาย) อ.เมือง วัดราศฎร์บำรุง จ.ชลบุรี
  79. พระอาจารย์บุญมี อ.บางละมุง วัดโพธิ์สัมพันธ์ จ.ชลบุรี
  80. พระพรหมนคราจารย์ อ.พรหมบุรี วัดแจ้งพรหมนคร จ.สิงห์บุรี
  81. พระครูศรีพรหมโศกิต (แพ) อ.พรหมบุรี วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี
  82. พระชัยนาทมุนี อ.เมือง วัดบรมธาตุ จ.ชัยนาท
  83. พระอาจารย์หอม (หลวงพ่อหอม) อ.เมือง วัดชากหมาก จ.ระยอง
  84. พระอาจารย์เมือง อ.แม่ทา วัดท่าแพ จ.ลำปาง
  85. พระครูอุทัยธรรมธานี อ.เมือง วัดท้าวอุ่ทอง จ.ปราจีนบุรี
  86. พระครูวิมลศีลจารย์ อ.ประจันตคาม วัดศรีประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี
  87. พระครูสนุทรธรรมประกาศ อ.ปากพลี วัดโพธิ์ปากพลี จ.นครนายก
  88. พระครูบาวัง อ.เมือง วัดบ้านเด่น จ.ตาก
  89. พระครูสวรรควิริยกิจ อ.เมือง วัดสวรรคนิเวส จ.แพร่
  90. พระครูจันทร (อ.ชุมแสง จ.นครสวรรหลวงพ่อจันทร์) วัดคลองระนง ค์
  91. พระครูสีลกิติคุณ (อั้น) วัดพระญาติฯ อ.พระนครศรีฯ จ.อยุธยา
  92. พระอาจารย์แจ่ม วัดวังแดงเหนือ อ.พระนครศรีฯ จ.อยุธยา
  93. พระครูเล็ก วัดบางนมโค อ.เสนา จ.อยุธยา
  94. พระอาจารย์มี วัดอินทราราม อ.เสนา จ.อยุธยา
  95. พระอาจารย์หวาน วัดดอกไม้ อ.บางปะหัน จ.อยุธยา
  96. พระอาจารย์หน่าย วัดบ้านแจ้ง อ.บางปะหัน จ.อยุธยา
  97. พระครูประสาทวิทยาคม (นอ) วัดกลาง อ.ท่าเรือ จ.อยุธยา
  98. พระอาจารย์จง (หลวงพ่อจง) วัดหน้าต่างนอก อ.บางไพร จ.อยุธยา
  99. พระอธิการเจาะ วัดประตูโลกเชษฐ์ อ.เสนา จ.อยุธยา
  100. พระอาจารย์ศรี วัดสระแก อ.พระนครศรีฯ จ.อยุธยา
  101. พระสุวรรณมุนี (ชิต) วัดมหาธาตุ อ.เมือง จ.อยุธยา
  102. พระครูศุข วัดดตนดหลวง อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี
  103. พระครูพิบูลย์ศีลาจารย์ วัดโพธิ์กรุ อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี
  104. พระครูทบ (หลวงพ่อทบ) วัดส่วางอรุณ อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์
  105. พระสวรรคนายก วัดสุวรรคคาราม อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย
  106. พระโบราณวัตถาจารย์ วัดราชธานี จ.สุโขทัย
  107. พระครู วัดกิ่งลานหอย กิ่ง อ.บ้านด่านลานหอย จ.สุโขทัย
  108. พระครูวิบูลย์สมุทร วัดเสด็จ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม 
25ศตวรรษ1

การสั่งจอง สร้างพระเครื่องชนิดทองคำ

การจัดสร้างพระเครื่องชนิดทองคำนี้ มีการจัดสร้างทั้งสิ้น 2500 องค์ โดยผู้ที่ปราถนาที่จะร่วมการกุศลนี้ ต้องส่งเงินร่วมการกุศล องค์ละ 2,500 บาท โดยวิธีสั่งจองดังนี้

  1. ส่งเงินพร้อมคำขอสั่งจอง 1,000 บาท ไปยังนายพลตำรวจตรีเนื่อง อาบบุตร หรือ นายสุวรรณ โชติกเสถียร ณ กรมสุลากร จะได้ออกใบรับเงินให้เป็นหลักฐาน
  2. พระเครื่องทองคำนี้นำหนัก องค์ละประมาณ 6 สลึง คณะกรรมการการจัดสร้างพระเครื่องได้สร้างเพียง 2,500 องค์ 

ก็เพื่อจะได้เป็นมิ่งขวัญในการครอบครอง 25 พุทธศตวรรษ ปี 2,500 ทั้งนี้ผู้ที่มีกุศลเจตนาร่วมการกุศลในครั้งนี้ด้วย คนละ 10 บาท ก็ได้รับพระเครื่องที่สร้างนี้คือ แบบผง (ดิน) หรือแบบเนื้อชิน 1 องค์ เป็นการสนองความศรัทธา ไมตรีจิตร่วมการกุศลของท่านจะได้รวบรวมเป็นทุนสร้างพุทธมณฑล ต่อไปจากเนื้อเรื่องไม่ว่าจะเป็นการจัดสร้าง

และวัตถุประสงค์ในการจัดสร้างคณาจารย์ที่ร่วมในพิธีปลุกเสกทั้ง 108 รูป ล้วนเป็นคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในยุคนั้นแทบทั้งสิ้น อีกทั้งจำนวนพระเครื่องที่สร้างก็มีจำนวนมาก (เนื้อดิน, ผง) ปัจจุบันยังคงมีอยู่ทั่วไปในแผงพระเครื่องทั่วไป แต่ถ้าเป็นพระเครื่องนอกจากเนื้อดิน, เนื้อชิน และมีราคาค่อนข้างจะสูง คนที่มีไว้ก็ไม่ค่อยจะนำมาปล่อยกันจึงไม่มีมาหมุนเวียน ในตลาดพระเครื่องกันเลยนาน ๆ จึงจะมีกันสักครั้ง