เทศกาลเช็งเม้ง เป็นเทศกาลที่ชาวไทยเชื้อสายจีนนิยมไปกราบไหว้บรรพบุรุษที่สุสานซึ่งเป็นการแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษและเป็นการสืบสานประเพณีวัฒนธรรม โดยเช็งเม้งตรงกับวันที่ 5 เม.ย.ของทุกปี สำหรับเช็งเม้งปี 2567 ก็ตรงกับวันที่ 5 เม.ย. 2567 และช่วงเวลาในเทศกาลเช็งเม้งปี 2567 มี 7 วัน คือ ระหว่างวันที่ 2 – 8 เมษายน ปี 2567 โดยให้นับวันก่อนถึงเทศกาลเช็งเม้ง 3 วัน และเลยไปอีก 3 วัน
เช็งเม้ง เทศกาลสำคัญของชาวไทยเชื้อสายจีน เป็นช่วงเวลาแห่งการรำลึกถึงบรรพบุรุษ แสดงความกตัญญู และความผูกพันต่อครอบครัว โดยลูกหลานจะรวมตัวกันเพื่อไปกวาดล้างทำความสะอาดสุสาน ถวายอาหาร ดอกไม้ ธูปเทียน และกระดาษเงินกระดาษทอง เพื่อเป็นการเซ่นไหว้บูชาบรรพบุรุษ
ความหมายของคำว่า “เช็งเม้ง”
คำว่า “เช็งเม้ง” มาจากภาษาจีน 2 คำ คือ “เช็ง” หมายถึง “สะอาด บริสุทธิ์” และ “เม้ง” หมายถึง “สว่าง” เมื่อรวมกันจึงหมายถึง “ช่วงเวลาแห่งความแจ่มใส รื่นรมย์”
ประวัติความเป็นมาของเช็งเม้ง
เช็งเม้ง มีต้นกำเนิดมาจากคติความเชื่อของลัทธิขงจื๊อ ที่ให้ความสำคัญกับความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ เชื่อกันว่าวิญญาณของบรรพบุรุษยังคงอยู่และสามารถรับรู้สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกมนุษย์
การปฏิบัติในวันเช็งเม้ง
- การทำความสะอาดสุสาน: ลูกหลานจะไปกวาดล้างทำความสะอาดสุสานของบรรพบุรุษ ตัดหญ้า เก็บกวาดขยะ ปรับแต่งพื้นที่ให้ดูสะอาดสวยงาม
- การถวายอาหาร: ลูกหลานจะเตรียมอาหารคาวหวาน ผลไม้ น้ำชา ดอกไม้ ธูปเทียน
- การเผากระดาษเงินกระดาษทอง: เชื่อกันว่าเป็นการส่งเงินทองไปให้บรรพบุรุษใช้ในภพภูมิถัดไป
- การไหว้ขอพร: ลูกหลานจะขอพรจากบรรพบุรุษให้ประสบความสำเร็จในชีวิต
ความสำคัญของเช็งเม้ง
- แสดงความกตัญญู: เป็นการแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ได้เลี้ยงดูมา
- รำลึกถึงอดีต: เป็นการรำลึกถึงคุณความดี และคำสอนของบรรพบุรุษ
- ความผูกพันในครอบครัว: เป็นโอกาสให้สมาชิกในครอบครัวได้มาพบปะสังสรรค์
- สืบสานประเพณี: เป็นการสืบสานประเพณีอันดีงามของชาวจีน
วิธีและขั้นตอนการไหว้ปฏิบัติในวันเช็งเม้ง
1. การทำความสะอาดสุสาน
ควรลงสีที่ป้ายชื่อให้ดูใหม่ โดยคนตายแล้วลงสีเขียวหรือสีทองขลิบเขียว ขณะที่ป้ายชื่อคนเป็นให้ลงสีแดง แต่ทั้งนี้ ห้ามถอนหญ้า เพราะอาจกระทบตำแหน่งห้าม เช่น ทิศอสูร ทิศแตกสลาย ทิศดาวเบญจภูติ เป็นต้น สำหรับการตกแต่งสุสานนั้น อาจใช้กระดาษม้วนสายรุ้ง โดยสุสานคนเป็น ให้ใช้สายรุ้งสีแดง ส่วนสุสานคนตาย สามารถใช้สายรุ้งสีอะไรก็ได้ แต่ห้ามปักธงลงบนหลังเต่า เพราะถือว่า เป็นการทิ่มแทงหลุม และบางความเชื่อ ถือว่าเป็นการทำให้หลังคาบ้านของบรรพบุรุษรั่ว
2. กราบไหว้เจ้าที่ เป็นการให้เกียรติและขอบคุณที่ช่วยคุ้มครองดูแล
- เทียน 1 คู่ ธูป 5 ดอก ( อาจปักลงบนฟักได้ )
- ชา 5 ถ้วย
- เหล้า 5 ถ้วย
- ของไหว้ต่าง ๆ เช่น ขนมอี๋ ผลไม้ (ควรงดเนื้อหมูเพราะเคยมีปรากฎว่าเจ้าที่เป็นอิสลาม)
- กระดาษเงิน กระดาษทอง
3.กราบไหว้ระลึกถึงพระคุณของพ่อแม่ และบรรพบุรุษวันเช็งเม้ง
- ชา 3 ถ้วย
- เหล้า 3 ถ้วย
- ของไหว้ต่างๆ เช่น ผลไม้หรือของไหว้ตามความเชื่อประเพณีของแต่ละท้องถิ่น ส่วนใหญ่เป็นขนมถ้วยฟู
- กระดาษเงิน กระดาษทอง ฯลฯ
- เทียน 1 คู่ ธูป 1 คู่ ตามจำนวนบรรพบุรุษ ท่านละ 1 ดอก
ที่สำคัญในวันเช็งเม้ง ห้ามวางของตรงแท่นหน้าเจี๊ยะปี (ป้ายหิน ที่จารึกชื่อ บรรพบุรุษ) เพราะเป็นที่เข้าออกของวิญญาณบรรพบุรุษ ไม่ใช่เก้าอี้นั่งอย่างที่หลายคนเข้าใจผิด
ขั้นตอนให้เริ่มจากให้ผู้อาวุโสเป็นผู้นำกราบไหว้และเมื่อเทียนใกล้หมดก้านก็ให้ลูกหลานตีวงล้อมด้วยหวาย เผา กระดาษเงิน กระดาษทอง ฯลฯ เป็นการกำหนดขอบเขตว่าสิ่งเหล่านี้ลูกหลานส่งให้บรรพบุรุษของครอบครัว เป็นการเฉพาะเพื่อป้องกันการแย่งชิง (ผู้ตีวงล้อมต้องเป็นลูกหลานเท่านั้น) เมื่อเสร็จสิ้นพิธีแล้ว บางครอบครัวอาจจะมานั่งล้อมวงรับประทานอาหารร่วมกัน เรียกได้ว่าเสมือน “วันรวมญาติ” เนื่องจากญาติและลูกหลานที่อยู่กระจายกันไป ได้มาพบปะสังสรรค์กันพร้อมหน้า เป็นการสร้างความสามัคคี สร้างจุดศูนย์รวม สรุปได้ว่า เช็งเม้ง เทศกาลแห่งความกตัญญู สืบสานประเพณีไหว้บรรพบุรุษ ณ สุสาน เตรียมตัวให้พร้อมสำหรับเทศกาลสำคัญนี้ สั่งซื้อ สั่งจองสินค้าเทศกาลสำคัญที่ ALL ONLINE สะดวก ครบ จบทีเดียว เช็งเม้ง เป็นเทศกาลที่มีความหมายลึกซึ้ง สะท้อนให้เห็นถึงความกตัญญู ความผูกพัน และความศรัทธา เป็นประเพณีที่ควรค่าแก่การสืบสานต่อไป