พระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ เมื่อปี พ.ศ. 2500 ได้มีพิธีพุทธาภิเษกพระเครื่องที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเมืองไทยและเป็นที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกด้วย และนอกจากนี้ยังได้มีการสร้างพระพุทธลีลา สูง 2,500 นิ้ว (62.50 ม.) บนเนื้อที่ 2,500 ไร่ ที่ตำบลศาลายา อ.นครปฐม (พุทธมณฑลปัจจุบัน) กับได้สร้าง พระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ ทั้งหลายขึ้น ซึ่งมีรายละเอียดในการจัดสร้างดังต่อไปนี้
- คณะกรรมการจัดสร้างพระเครื่องในงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
- นายพลตำนวจเอก เผ่า ศรียานนท์ ประธานกรรมการ
คณะกรรมการจัดสร้างพระเครื่องในงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ มีหน้าที่จัดสร้างพระเครื่องเพื่อเป็นที่ระลึกในงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ เพื่อแจกจ่ายและสมนาคุณ แก่ประชาชนผู้มีจิตศรัทธาบริจาคเงิน สมทบทุนในการสร้างพุทธมณฑล คณะกรรมการจัดสร้างพระเครื่องฯ ได้จัดการดำเนินงานไปแล้ว และจะจัดการต่อไปตามลำดับนี้
คณะกรรมการจัดสร้างพระเครื่องฯ ได้อนุมัติ เงินทุนในการสร้างพระเครื่องครั้งนี้ เป็นเงิน 5,000,000 บาท (ห้าล้านบาทถ้วน) เพื่อทำการสร้างพระ 2 แบบ คือ
พระเนื้อชิน
อันประกอบด้วย พลวง, ดีบุก, ตะกั่วดำผสมด้วยนวโลหะ คือ ชินหนัก 1 บาท, เจ้าน้ำเงินหนัก 2 บาท, เหล็กละลายตัวหนัก 3 บาท เหล็กบริสุทธิ์ หลัก 4 บาท, ปรอท หนัก 5 บาท, สังกะสีหนัก 6 บาท ทองแดงหนัก 7 บาท, เงินหนัก 8 บาท, ทองคำหนัก 9 บาท, ตลอดจนแผ่นทองแดง, ตะกั่ว, เงินที่พระอาจารย์ต่าง ๆ เกือบทั้งราชอาณาจักร ได้ลงเลขยันต์คาถาส่งมาให้และเศษชนวนหล่อพระในพิธีแห่งอื่น ๆ รวมหล่อผสมลงไปในคราวนี้ด้วย
พระผง (ดิน)
ผสมด้วยผงเกษรดอกไม้ 108 อย่าง ตลอดจนผสมด้วยดินหน้าพระอุโบสถ จากพระอาจารย์ต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักรและผงพุทธาคมต่าง ๆ ที่บรรดาพระอาจารย์ได้มอบให้มารวมทั้งพระผงต่าง ๆ แบบของโบราณและของพระอาจารย์ต่าง ๆ ที่ได้สร้างไว้แต่โบราณกาล อันได้ส่งอุทิศมาให้ผสมรวมเป็นผงในครั้งนี้ด้วยมากมายหลายแห่ง ลำดับสี การเผาดินพระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ จากเริ่มจนถึงสุดท้าย สีจะเข้มจนดำไปในที่สุด
จำนวนพระที่สร้างในครั้งนี้
- พระเนื้อชิน 2,421,250 องค์
- พระเนื้อดิน 2,421,250 องค์
- สร้างพระพุทธรูปบูชาทองคำแบบพุทธลีลา ลักษณะเดียวกับพระองค์ใหญ่ ซึ่งจะสร้างที่พุทธมณฑล สูงองค์ละ 9 ซม. 4 องค์ ทองคำหนักรวม 55 บาท พระพุทธรูปทองคำนี้ ได้ให้กองพระษาปณ์ กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง เป็นผู้จัดสร้าง
จัดการสร้างพระเครื่องทองคำ
แบบลักษณะและขนาดเดียวกับพระเนื้อชินใช้ทองคำหนักองค์ละประมาณ 6 สลึง โดยให้สร้างเป็นจำนวนเพียง 2,500 องค์การสร้างพระเครื่องทองคำ ตามข้อนี้ ได้ใช้ทุนโดยวิธีเรียกเงินล่วงหน้าจากผู้สั่งจององค์ละ 1,000 บาท ส่วนเงินสมทบทุนอันแท้จริงนั้นองค์ละ 2,500 บาท เมื่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้สั่งจองจะต้องส่งเงิน ส่วนที่เหลืออีก 1,500 บาท เวลามาขอรับองค์พระไป
คณะกรรมการหาทุนและรับสั่งของสมทบทุนในการสร้างพุทธมณฑลอันมีพระยาสามราชภักดี
ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานกรรมการดำเนินงานอยู่นั้น ได้แจ้งความจำนงมายังคณะกรรมการนี่ว่า
เดิมที่ได้มีมติดังต่อไปนี้
- ผู้ใดบริจาคเงินสมทบทุนสร้างพุทธมณฑล 10,000 บาท จะได้พระทองคำหนักประมาณ 1 บาท เป็นของสมนาคุณ 1 องค์
- ผู้ใดบริจาคเงินสมทบทุน 1,000 บาท จะได้พระเงินหนักประมาณ 1 บาท เป็นของสมนาคุณ 1 องค์
การสร้างพระสมนาคุณนี้คณะกรรมการจะต้องสร้างเพื่อมอบเป็นของสมนาคุณมีจำนวนดังนี้
- พระทองคำ 15 องค์
- พระนาก 30 องค์
- พระเงิน 300 องค์
เงินค่าสร้างพระทั้ง 3 ชนิดนี้ เป็นเงินทุนจากที่ได้รับไว้แล้ว และจะดำเนินการสร้างให้เสร็จในคราวเดียว กับที่ได้สร้างพระเครื่องชินและผง (ดิน) ดังกล่าวแล้วด้วย
เหรียญ 25 พุทธศตวรรษ เนื้อทองคำ
จุดตำหนิ ด้านหน้า
- ดูฐานบัว มีเม็ดหนึ่งเม็ด
- ดูรัศมีด้านซ้าย มีเส้นแตกถึงหัวไหล่
จุดตำหนิ ด้านหลัง
- ดูปลายอุด้านขวามีเส้นเกิน
- ดูหางตัวอุติดขอบยันต์
- มีตัวมะ เส้นแตก
เหรียญ 25 พุทธศตวรรษ เนื้อเงิน
จุดตำหนิ ด้านหน้า
- ดูฐานบัว มีเม็ดหนึ่งเม็ด
- ดูรัศมีด้านซ้าย มีเส้นแตกถึงหัวไหล่ จุดตำหนิ ด้านหลัง
- ดูปลายอุด้านขวามีเส้นเกิน
- ดูหางตัวอุติดขอบยันต์
- มีตัวมะ เส้นแตก
การสร้างพระเครื่อง
ได้ลงมือทำพิธีปลุกเสกสรรพสิ่งตลอด 3 วัน 3 คืน ในพระอุโบสถวัดสุทัศน์เทพวราราม ราชวรมหาวิหาร มีสมเด็จพระราชาคณะ, เจริญพระพุทธมนต์ 25 รูป พระคณาจารย์ปลุกเสก บรรจุพุทธาคมครบ 108 รูป
- พระครูอาคมสุนทร อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
- พระครูสุนทรสมาธิวัตร อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
- พระญาณาภิรัต อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
- พระครูพิบูลย์บรรณวัตร อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
- พระครูสุนทรศีลาจารย์ อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
- พระครูพิศาลสรกิจ อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
- พระมหาสวน อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
- พระอำนวย อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
- พระปลัดสุพจน์ อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
- พระครูวิสิษฐ์วิหารการ อ.พระนคร วัดชนะสงคราม จ.พระนคร
- พระสุธรรมธีรคุณ (หลวงพ่อวงษ์) วัดสระเกศ จ.พระนคร
- พระอาจารย์สา อ.พระนคร วัดชนัดดาราม จ.พระนคร
- พระปลัดแพง อ.พระนคร วัดมหาธาตุฯ จ.พระนคร
- พระวิสุทธิสมโพธิ อ.พระนคร วัดพระเชตุพนฯ จ.พระนคร
- พระวรเวทย์คุณาจารย์ อ.พระนคร วัดพระเชตุพนฯ จ.พระนคร
- พระครูฐาปนกิจประสาท อ.พระนคร วัดพระเชตุพนฯ จ.พระนคร
- พระอินทรสมาจารย์ อ.พระนคร วัดพระเชตุพนฯ จ.พระนคร
- พระครูวินัยธรเฟื่อง อ.พระนคร วัดสัมพันธ์วงศ์ จ.พระนคร
- พระครูภักดิ์ อ.พระโขนง วัดบึงทองหลาง จ.พระนคร
- พระครูกัลญาณวิสุทธิ อ.ยานนาวา วัดดอนทวาย จ.พระนคร
- พระอาจารย์มี อ.ยานนาวา วัดสวนพลู จ.พระนคร
- พระอาจารย์เหมือน อ.บางเขม วัดโรงหีบ จ.พระนคร
- พระหลวงวิจิตร อ.ดุสิต วัดสะพานสูง จ.พระนคร
- พระอาจารย์หุ่น อ.มีนบุรี วัดบางขวด จ.พระนคร
- พระราชโมลี อ.บางกอกน้อย วัดระฆัง จ.ธนบุรี
- หลวงวิชิตชโสธร วัดสันติธรรมาราม จ.ธนบุรี
- พรครูโสภณกัลญานุวัตร วัดกัลญาณมิตร จ.ธนบุรี
- พระครูภาวนาภิรัต อ.บางขุนเทียน วัดหนัง จ. ธนบุรี
- พระครูทิวากรคุณ อ.ตลิ่งชัน วัดตลิ่งชัน จ.ธนบุรี
- พระครูไพโรจน์วุฒิคุณ วัดโพธินิมิตร จ.ธนบุรี
- พระครูญาณสิทธิ์ อ.ตลิ่งชัน วัดราชสิทธาราม จ.ธนบุรี
- พระอาจารย์มา อ.ตลิ่งชัน วัดราชสิทธาราม จ.ธนบุรี
- พระอาจารย์หวน อ.ตลิ่งชัน วัดพิกุล จ.ธนบุรี
- พระมหาธีวัฒน์ อ.ภาษีเจริญ วัดปากน้ำ จ.ธนบุรี
- พระอาจารย์จ้าย อ.ภาษีเจริญ วัดปากน้ำ จ.ธนบุรี
- พระอาจารย์อินทร์ อ.ภาษีเจริญ วัดปากน้ำ จ.ธนบุรี
- พระครูกิจจาภิรมย์ อ.บางกอกใหญ่ วัดอรุณราชวราราม จ.ธนบุรี
- พระครูวินัยสังวร อ.ธนบุรี วัดประยูรวงศวาส จ.ธนบุรี
- พระสุขุมธรรมาจารย์ อ.ธนบุรี วัดหงษ์รัตนราม จ.ธนบุรี
- พระครูพรหมวินิต อ.ธนบุรี วัดหงษ์รัตนาราม จ.ธนบุรี
- พระอาจารย์อิน อ.คลองสาน วัดสุวรรณอุบาสิการ จ.ธนบุรี
- พระครูวิริยกิจ อ.คลองสาน วัดประดู่ฉิมพลี จ.ธนบุรี
- พระปรีชานนทมุนี อ.บางบัวทอง วัดโมลี จ.นนทบุรี
- พระครูปลัดแฉ่ง (หลวงพ่อแฉ่ง) อ.ปากเกร็ด วัดศรีรัตนาราม จ.นนทบุรี
- พระปลัดยัง (หลวงพ่อยัง) อ.ปากเกร็ด วัดบางจาก จ.นนทบุรี
- พระอาจารย์สมจิต วัดป่ากระเหรี่ยง จ.ราชบุรี
- พระอาจารย์แทน อ.เมือง วัดธรรมเสน จ.ราชบุรี
- พระครูบิน อ.บางแพ วัดแก้ว จ.ราชบุรี
- พระอินทร์เขมาจารย์ อ.เมือง วัดช่องลม จ.ราชบุรี
- พระธรรมวาทีคณาจารย์ อ.เมือง วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
- พระครูสังฆวิชัย วัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม
- พระอาจารย์สำเนียง อ.บางเลน วัดเวทุนาราม จ.นครปฐม
- พระอาจารย์เต๋ อ.กำแพงแสน วัดสามง่าม จ.นครปฐม
- พระอาจารย์แปลก อ.เมือง วัดสระบัว จ.ปทุมธานี
- พระครูปลัดทุ่ง อ.เมือง วัดเทียมถวาย จ.ปทุมธานี
- พระครูบวรธรรมกิจ อ.เมือง วัดโบสถ จ.ปทุธานี
- พระครูโสภณสมาจารย์ อ.เมือง วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี
- พระครูวิสุทธิรังษี อ.เมือง วัดเหนือ จ.กาญจนบุรี
- พระมุจจรินโมฬี อ.หนองจิก วัดมุจจริน จ.ปัตตานี
- พระครูรอด อ.เมือง วัดประดู่ จ.นครศรีธรรมราช
- พระครูวิศิษฐ์อรรถการ อ.ฉวาง วัดสวนขวัญ จ.นครศรีธรรมราช
- พระครูสิทธิธรรมาจารย์ (พระอาจารย์ลี) อ.เมือง วัดโศกการาม จ.สมุทรปราการ
- พระอาจารย์บุตร อ.เมือง วัดใหม่บางปลากด จ.สมุทรปราการ
- พระอาจารย์แสวง อ.พระประแกง วัดกลางสวน จ.สมุทรปราการ
- พระครูศิริสรคุณ อ.เมือง วัดท้ายหาด จ.สมุทรสงคราม
- พระครูสมุทรสุนทร อ.เมือง วัดพวงมาลัย จ.สมุทรสงคราม
- พระสทุธิสารวุฒาจารย์ อ.อัมพวา วัดเสด็จ จ.สมุทรสงคราม
- พระอาจารย์อ๊วง อ.อันพวา วัดบางคณาทอง จ.สมุทรสงคราม
- พระครูไพโรจน์วุฒาจารย์ (รุ่ง) อ.กระทุ่มแบน วัดท่ากระบือ จ.สมุทรสาคร
- พระครูวิเศษสมุทรคุณ อ.กระทุ่มแบน วัดดอนไก่ดี จ.สมุทรสาคร
- พระครูสักขิตวันมุนี อ.เมือง วัดป่าเลไลย์ จ.สุพรรณบุรี
- พระอาจาย์แต้ม อ.เมือง วัดพระลอย จ.สุพรรณบุรี
- พระครูโฆษิตธรรมสาร (ครื้น) อ.เมือง วัดสังโฆ จ.สุพรรณบุรี
- พระครูวรกิจวินิจฉัย (พริ้ง) อ.เมือง วัดวรจันทร์ จ.สุพรรณบุรี
- พระครูสำฤทธิ์ (เอี้ยง) อ.เมือง วัดอู่ทอง จ.สุพรรณบุรี
- พระวรพจน์ปัญญาจารย์ องเมือง วัดอรัญญิการาม จ.ชลบุรี
- พระครูธรรมาวุฒิคุณ อ.เมือง วัดเสม็ด จ.ชลบุรี
- พระครูธรรมธร (หลาย) อ.เมือง วัดราศฎร์บำรุง จ.ชลบุรี
- พระอาจารย์บุญมี อ.บางละมุง วัดโพธิ์สัมพันธ์ จ.ชลบุรี
- พระพรหมนคราจารย์ อ.พรหมบุรี วัดแจ้งพรหมนคร จ.สิงห์บุรี
- พระครูศรีพรหมโศกิต (แพ) อ.พรหมบุรี วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี
- พระชัยนาทมุนี อ.เมือง วัดบรมธาตุ จ.ชัยนาท
- พระอาจารย์หอม (หลวงพ่อหอม) อ.เมือง วัดชากหมาก จ.ระยอง
- พระอาจารย์เมือง อ.แม่ทา วัดท่าแพ จ.ลำปาง
- พระครูอุทัยธรรมธานี อ.เมือง วัดท้าวอุ่ทอง จ.ปราจีนบุรี
- พระครูวิมลศีลจารย์ อ.ประจันตคาม วัดศรีประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี
- พระครูสนุทรธรรมประกาศ อ.ปากพลี วัดโพธิ์ปากพลี จ.นครนายก
- พระครูบาวัง อ.เมือง วัดบ้านเด่น จ.ตาก
- พระครูสวรรควิริยกิจ อ.เมือง วัดสวรรคนิเวส จ.แพร่
- พระครูจันทร (อ.ชุมแสง จ.นครสวรรหลวงพ่อจันทร์) วัดคลองระนง ค์
- พระครูสีลกิติคุณ (อั้น) วัดพระญาติฯ อ.พระนครศรีฯ จ.อยุธยา
- พระอาจารย์แจ่ม วัดวังแดงเหนือ อ.พระนครศรีฯ จ.อยุธยา
- พระครูเล็ก วัดบางนมโค อ.เสนา จ.อยุธยา
- พระอาจารย์มี วัดอินทราราม อ.เสนา จ.อยุธยา
- พระอาจารย์หวาน วัดดอกไม้ อ.บางปะหัน จ.อยุธยา
- พระอาจารย์หน่าย วัดบ้านแจ้ง อ.บางปะหัน จ.อยุธยา
- พระครูประสาทวิทยาคม (นอ) วัดกลาง อ.ท่าเรือ จ.อยุธยา
- พระอาจารย์จง (หลวงพ่อจง) วัดหน้าต่างนอก อ.บางไพร จ.อยุธยา
- พระอธิการเจาะ วัดประตูโลกเชษฐ์ อ.เสนา จ.อยุธยา
- พระอาจารย์ศรี วัดสระแก อ.พระนครศรีฯ จ.อยุธยา
- พระสุวรรณมุนี (ชิต) วัดมหาธาตุ อ.เมือง จ.อยุธยา
- พระครูศุข วัดดตนดหลวง อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี
- พระครูพิบูลย์ศีลาจารย์ วัดโพธิ์กรุ อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี
- พระครูทบ (หลวงพ่อทบ) วัดส่วางอรุณ อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์
- พระสวรรคนายก วัดสุวรรคคาราม อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย
- พระโบราณวัตถาจารย์ วัดราชธานี จ.สุโขทัย
- พระครู วัดกิ่งลานหอย กิ่ง อ.บ้านด่านลานหอย จ.สุโขทัย
- พระครูวิบูลย์สมุทร วัดเสด็จ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม
การสั่งจอง สร้างพระเครื่องชนิดทองคำ
การจัดสร้างพระเครื่องชนิดทองคำนี้ มีการจัดสร้างทั้งสิ้น 2500 องค์ โดยผู้ที่ปราถนาที่จะร่วมการกุศลนี้ ต้องส่งเงินร่วมการกุศล องค์ละ 2,500 บาท โดยวิธีสั่งจองดังนี้
- ส่งเงินพร้อมคำขอสั่งจอง 1,000 บาท ไปยังนายพลตำรวจตรีเนื่อง อาบบุตร หรือ นายสุวรรณ โชติกเสถียร ณ กรมสุลากร จะได้ออกใบรับเงินให้เป็นหลักฐาน
- พระเครื่องทองคำนี้นำหนัก องค์ละประมาณ 6 สลึง คณะกรรมการการจัดสร้างพระเครื่องได้สร้างเพียง 2,500 องค์
ก็เพื่อจะได้เป็นมิ่งขวัญในการครอบครอง 25 พุทธศตวรรษ ปี 2,500 ทั้งนี้ผู้ที่มีกุศลเจตนาร่วมการกุศลในครั้งนี้ด้วย คนละ 10 บาท ก็ได้รับพระเครื่องที่สร้างนี้คือ แบบผง (ดิน) หรือแบบเนื้อชิน 1 องค์ เป็นการสนองความศรัทธา ไมตรีจิตร่วมการกุศลของท่านจะได้รวบรวมเป็นทุนสร้างพุทธมณฑล ต่อไปจากเนื้อเรื่องไม่ว่าจะเป็นการจัดสร้าง
และวัตถุประสงค์ในการจัดสร้างคณาจารย์ที่ร่วมในพิธีปลุกเสกทั้ง 108 รูป ล้วนเป็นคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในยุคนั้นแทบทั้งสิ้น อีกทั้งจำนวนพระเครื่องที่สร้างก็มีจำนวนมาก (เนื้อดิน, ผง) ปัจจุบันยังคงมีอยู่ทั่วไปในแผงพระเครื่องทั่วไป แต่ถ้าเป็นพระเครื่องนอกจากเนื้อดิน, เนื้อชิน และมีราคาค่อนข้างจะสูง คนที่มีไว้ก็ไม่ค่อยจะนำมาปล่อยกันจึงไม่มีมาหมุนเวียน ในตลาดพระเครื่องกันเลยนาน ๆ จึงจะมีกันสักครั้ง