ตำนานพระกริ่ง

247

ประวัติการสร้าง พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ มีมาแต่โบราณ ประวัติพระกริ่ง เริ่มขึ้นที่ในประเทศทิเบตและจีน จึงเรียกติดปากว่า พระกริ่งทิเบต และพระกริ่งหนองแส พระกริ่งเป็นพระพุทธเจ้าปางมาช่วยโปรดสัตว์โลก หรือเรียกกันว่า “พระไภสัชคุรุ” เป็น พระพุทธเจ้าปางหนึ่งของลัทธิมหายาน ซึ่งหมายความว่า ทรงเป็นครูในด้านเภสัช คือ การรักษาพยาบาล ต่อมาได้แพร่หลายมาก นิยมสร้างในเขมร เรียกว่า พระกริ่งอุบาเก็ง หรือ พระกริ่งพนมบาเก็ง และพระกริ่งพระปทุมสุริยวงศ์

สำหรับพระพระกริ่งที่มีชื่อเสียงทรงคุณวิเศษหลายประการ มีผู้นิยมนับถือกันมากยิ่งในปัจจุบันนี้ยิ่งหายาก ต้องยกให้ พระกริ่งวัดสุทัศนฯ เพราะสมเด็จพระสังฆราช(แพ) ทรงสร้างไว้จำนวนไม่มากพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ สุดยอดพิธีกรรมุ

พระกริ่ง วัดสุทัศน์ สาเหตุที่ทรงสร้าง พระกริ่งวัดสุทัศนนั้นเนื่องจากเมื่อครั้งที่ สมเด็จพระวันรัต (แดง) พระอุปัชฌาย์อาพาธเป็นอหิวาตกโรค สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของพระองค์ทรงเคยรักษาผู้ป่วยเป็นอหิวาตกโรคให้หายได้ ด้วยการอาราธนาพระกริ่งลงในน้ำ ทำเป็นน้ำพระพุทธมนต์ แล้วโปรดให้น้ำนั้นแก่ผู้ป่วยดื่ม ปรากฏว่าหายอย่างน่าอัศจรรย์ เมื่อตรัสอย่างนั้นแล้วก็อาราธนาพระกริ่งลงในน้ำ ทำน้ำพระพุทธมนต์ประทานแก่ สมเด็จพระวันรัต (แดง)

เมื่อท่านฉันน้ำพระพุทธมนต์นั้นแล้วก็บรรเทาหายอาพาธเป็นปกติ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทว) วัดสุทัศนเทพวรารามได้ทอดพระเนตรเห็นคุณวิเศษน่าอัศจรรย์ของพระกริ่งในขณะนั้นแล้ว จึงเกิดความสนพระทัย และทรงเริ่มศึกษาค้นคว้าตำราที่จะสร้างพระกริ่งเรื่อยมา จนมีความรู้ความเชี่ยวชาญในการสร้าง จนเจนจบ เมื่อจะมีการสร้างพระกริ่งขึ้นครั้งใด พระองค์จะถูกขอร้องให้เป็นผู้ชี้แจงการสร้าง และการหล่อ ในฐานะประธานการหล่อพระกริ่งเสมอมา

พระกริ่ง “พระไภสัชคุรุ” ประวัติพระกริ่งตำนาน พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ตำนานความเป็นมาของ พระกริ่งและพระชัยวัฒน์ของสมเด็จพระสังฆราช (แพ) ซึ่งนายนิรันดร์ แดงวิจิตร หรือ อดีตพระครูวินัยกรณโสภณ เป็นผู้เขียน มีข้อความที่น่าสนใจมากดังนี้

ตำนานพระกริ่งและพระชัยวัฒน์ “คำว่ากริ่ง” นี้ หมายความว่ากระไร สมเด็จฯ (สมเด็จพระสังฆราช แพ ติสฺสเทว) เคยรับสั่งเสมอว่า คำว่า “กริ่ง” นี้ มาจากคำถามที่ว่า “กึ กุสโล” (กิง กุสะโล) คือ เมื่อพระโยคาวจรบำเพ็ญสมณธรรมมีจิตผ่านกุศลธรรมทั้งปวงเป็นลำดับไปแล้ว ถึงขั้นสุดท้ายจิตเสวยอุเบกขาเวทนา ปุญญาภิสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี ได้แก่ กุศลเจตนา) เปลี่ยนเป็น อเนญชา (สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคง ไม่หวั่นไหว ได้แก่ ภาวะจิตที่มั่นคงแน่วแน่ด้วยสมาธิแห่งจตุตถฌาน คือ ฌานที่ 4)

เป็นเหตุให้พระโยคาวจรเอะใจขึ้นว่า “กึ กุสโล” นี้เป็นกุศลอะไร เพราะเป็นธรรมที่เกิดขึ้นแปลกประหลาด ไม่เหมือนกับกุศลอื่นที่ผ่านมา ดังนั้นคำว่า “กึ กุสโล” จึงเป็นชื่อของ อเนญชา คือ “นิพพุติ” แปลว่า “ดับสนิท” คือหมายถึงพระนิพพานนั่นเอง”

พุทธคุณพระกริ่ง

มูลเหตุที่สมเด็จพระสังฆราช (แพ) ทรงสร้าง พระกริ่งและพระชัยวัฒน์ นั้นมีดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ ทรงเล่าว่าเมื่อพระองค์ดำรงสมณศักดิ์เป็นพระศรีสมโพธิ ครั้งนั้น สมเด็จพระวันรัต (แดง) อาพาธเป็นอหิวาตกโรค สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ครั้งยังทรงเป็นกรมหมื่นเสด็จมาเยี่ยม เมื่อรับสั่งถามถึงอาการของโรคเป็นที่เข้าพระทัยแล้ว รับสั่งว่า เคยเห็นกรมพระยาปวเรศฯเสด็จพระอุปัชฌาย์ของพระองค์อาราธนาพระกริ่งแช่น้ำอธิษฐาน ขอน้ำพระพุทธมนต์แล้วให้คนไข้เป็นอหิวาตกโรคกินหายเป็นปกติ

พระองค์จึงรับสั่งให้มหาดเล็กที่ตามเสด็จไปนำพระกริ่งที่วัดบวรนิเวศแต่สมเด็จฯ ทูลว่า พระกริ่งที่กุฏิมี สมเด็จพระมหาสมณเจ้า จึงรับสั่งให้นำมา แล้วอาราธนาพระกริ่งแช่ น้ำอธิษฐานขอน้ำพระพุทธมนต์แล้วนำไปถวายสมเด็จพระวันรัต (แดง) เมื่อท่านฉันน้ำพระพุทธมนต์แล้ว โรคอหิวาต์ก็บรรเทาหายเป็นปกติ ส่วนจะเป็นพระกริ่งสมัยไหนพระองค์ท่านรับสั่งว่าจำไม่ได้

สำหรับคำกล่าวว่า ตำราสร้างพระกริ่ง ในยุคกรุงรัตนโกสินทร์นี้ เดิมเป็นตำราของสมเด็จพระนพระชัต วัดป่าแก้ว สำนักอรัญญิกาวาสสมถธุระวิปัสสนาธุระแห่งกรุงศรีอยุธยา และมาอยู่ที่สมเด็จกรมพระยาปรมานุชิตชิโนรส ศรีสุคตขัตติยวงศ์ วัดพระเชตุพนฯ จากนั้นพรมงคลทิพย์มุนี (มา) วัดจักรวรรดิราชาวาส ก่อนที่จะมาตกอยู่ที่สมเด็จพระสังฆราช (แพ) เมื่อครั้งยังทรงสมณศักดิ์เป็นพระเทพโมลี

พระกริ่ง “พระไภสัชคุรุ” ขั้นตอนการสร้างพระกริ่ง ตำราการสร้างพระกริ่ง สายวัดสุทัศนฯ นอกจากนี้การแสวงหาแร่ธาตุที่มีคุณต่าง ๆ นั้น ต้องใช้ความพยายามไม่น้อย ตามตำราการสร้างพระกริ่งเนื้อนวโลหะสายวัดสุทัศนฯ ประกอบไปด้วย

  1. ชินน้ำหนัก 1 บาท (1 บาท = 15.2 กรัม)
  2. จ้าวน้ำเงิน น้ำหนัก 2 บาท (แร่ชนิดหนึ่ง สีเขียวปนน้ำเงิน)
  3. เหล็กละลายตัว น้ำหนัก 3 บาท
  4. บริสุทธิ์ทองแดงบริสุทธิ์น้ำหนัก 4 บาท
  5. ปรอท น้ำหนัก 5 บาท
  6. สังกะสี น้ำหนัก 6 บาท
  7. ทองแดง น้ำหนัก 7 บาท
  8. เงิน น้ำหนัก 8 บาท
  9. ทองคำ น้ำหนัก 9 บาท

มาหล่อหลอมให้กินกันดี แล้วนำมาตีเป็นแผ่นแล้วจารยันต์ 108 กับ นะ ปถมัง 14 นะ ครั้งได้ฤกษ์ยามดีก็จะพิธีลงยันต์ในพระอุโบสถต่อไป จากนั้นก็กลับนำมาหล่อตามฤกษ์อีกครั้ง

ด้วยมวลสารพิธีกรรมและฤกษ์ ทำให้พระกริ่งที่ สร้างในยุคก่อนมีความเข้มขลังสามารถแช่น้ำทำน้ำมนต์มาดื่มกันรักษาโรคได้ แต่การสร้างยุคหลัง ส่วนใหญ่จะเป็นการรวบรัด แม้ว่าจะเป็นเนื้อนวโลหะครบตามสูตร แต่การจารยันต์และฤกษ์การเทนั้นไม่เป็นตามตำรา พระกริ่งยุคหลังจึงนำมาแช่น้ำทำน้ำมนต์มาดื่มกันรักษาโรคไม่ได้ดีเท่าในอดีต

พระกริ่ง เป็นพระเครื่องที่คนในวงการพระเครื่องเชื่อมากันตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะ “เซียนพระกริ่ง” ยังเชื่อกันอย่างแน่วแน่ว่า สามารถช่วยรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆได้ทุกโรค โดยเฉพาะโรคที่การแพทย์แผนปัจจุบันหาสาเหตุไม่พบ และรักษาด้วยยาไม่ได้ ยามใดที่เกิดอาการเจ็บไข้ได้ป่วยจงอธิษฐานขออำนาจพุทธคุณในพระกริ่ง แล้วนำพระแช่น้ำ จากนั้นก็เอามาดื่ม บ้างก็นำมาอาบ เพื่อความเป็นสิริมงคล โรคภัย ไข้เจ็บป่วยอยู่นั้น ก็จะหายโดยอัศจรรย์