หลวงปู่แสน วัดบ้านหนองจิก

292

หลวงปู่แสน ปสนฺโน วัดบ้านหนองจิก จ.ศรีสะเกษ เกจิแห่งอีสานใต้ อายุ 109 ปี ชื่อเดิม ปู่แสน คุ้มครอง เกิดขึ้น 15 ค่ำเดือน 10 ปีวอก ตรงกับ วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน 2451 เป็นบุตรของพ่อเอี้ยง คุ้มครอง และ แม่ผัน คุ้มครอง มี่พี่น้องต่างมารดาร่วม 6 คน หลวงปู่เป็นบุตรคนที่ 3 (ปัจจุบันเหลือหลวงปู่ผู้เดียว) พื้นเพเป็นคนบ้างโพง ต.ไพรบึง อ.ขุขันธ์ จ.ขุขันธ์ (ปัจจุบัน ต.ไพรบึง อ.ไพรบึง จ.ศรีษะเกษ)

เมื่อครั้นยังเด็กหลวงปู่เป็นลูกศิษย์อยู่ที่วัดบ้านโพรง และพี่ชายซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านโพงในสมัยนั้นเลี้ยงดู จนได้บวชเณรที่วัดบ้านโพรง ระหว่างบวชเณรได้ไปศึกษาเรียนหนังสือกับหลวงพ่อ มุมวัดปราสาทเยอใต้จนจบ ป.4 และได้เรียนตำราพระเวชจากหลวงพ่อมุมทั้งภาษาขอม ภาษาธรรมบาลี ระหว่างเป็นเณรก็ได้เที่ยวไปมาระหว่างบ้านปราสาทเยอใต้และบ้านโพง

จนกระทั่งอายุ 21 ปีได้เข้าอุปสมบท ระหว่างเป็นพระก็ยังคงเรียนรู้วิชากับพระอาจารย์มุมอย่างต่อเนื่อง จนกระทั้งอายุ 24 ปี ได้ลาสิขาบทออกมาเพื่อมาช่วยงานทางบ้านที่มีฐานะยากจน หลังจากสึกได้บวชเป็นหมอธรรมขณะที่เป็นคาราวาส ระหว่างว่างเว้นจากการทำเกษตรกรรม หลวงปู่ได้ชักชวนเพื่อนๆหมอธรรมเดหนทางไปเขมรเพื่อเรียนเพิ่มเติมที่จังหวัดพระตะบอง เสียมราฐ และเมืองศรีโสภณ สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคารมเป็นนายก ได้เข้าพบพระผู้ใหญ่และอาจารย์จากทางเขมร แล้วได้ร่ำเรียนมาไม่น้อย หลวงปู่ท่านกลับเลือกเรียนวิชาที่เกี่ยวกับช่วยเหลือผู้คนรักษาคน

ต่อมาพอหมดภาระทางบ้านหลวงปู่ ได้กลับเข้าใต้ร่มกาสาวพัสตร์อีกครั้ง โดยไปจำพรราที่บ้านกุดเสล่า อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ ก็ได้ธุดงค์ในเทือกเขาพนมดงรัก เป็นนิจ และเป็นพระที่อยู่อย่างสมาถะ ไม่มักมาก ไม่ยึดติด เป็นพระนักสร้าง ชาวบ้านกุดเสล่าจึงรักและศรัทธาท่านมาก ต่อมาหลวงตาวันพระที่เป็นสหายรุ่นน้อง จึงได้ไปกราบนิมนต์มาช่วยสร้างวัด

โดยเจ้าคณะอำเภอกันทรลักษณ์อนุญาตให้หลวงปู่ไปอยู่ที่วัดเป็นวัดที่สมบูรณ์แล้ว หลวงปู่จึงมาจำพรรษาที่วัดอรุณสว่างวราราม(วัดบ้านกราม) แต่ด้วยมักสมาถะ ปีต่อมาจึงย้ายมาจำพรรษาที่สำนักสงฆ์โนนไทย (วัดกูไทยสามัคคีในปัจจุบัน) อยู่จำพรรษา 3 พรรษา ต่อมาได้จำพรรษาที่วัดบ้านหนองจิกเนื่องด้วยวัดจะร้างเพราะพระน้อย หลวงปู่จึงเข้ามาทำนุบำรุงวัดจนวัดมีพระเข้ามารับช่วงต่อ ท่านได้จำพรรษาที่วัดบ้านหนองจิกเป็นเวลา 4 พรรษา

โยมญาติพี่น้องเก่าจึงได้เดินทางมานิมนต์ให้ไปจำพรรษาที่วัดบ้านโพง วัดครั้นสมัยบวชเณรเนื่องจากวัดจะร้างไม่มีพระจำพรรษา เนื่องจากหลวงปู่ท่านเป็นพระที่มีเมตตาแม้อายุจะย่างเข้า 93 ปีท่านได้ไปจำพรรษาที่วัดบ้านโพงโดยรักษาการตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดในช่วงนั้น ด้วยพระเดชของหลวงปู่วัดใดที่จะร้าง เมื่อท่านไปจำพรรษาวัดใด วัดนั้นก็จะเต็มไปด้วยลูกวัด ในขณะที่จำพรรษาอยู่วัดบ้านโพงก็ได้ทำนุบำรุงวัดเชกเช่นวัดอื่น จนอายุ 97 ปี ลูกหลานเป็นห่วงสุขภาพหลวงปู่จึงได้พาชาวบ้านไปนิมนต์หลวงปู่จากวัดบ้านโพงกลับมาจำพรรษาที่วัดหนองจิกจนถึงทุกวันนี้

ประวัติ ณ ปัจจุบัน

หลวงปู่แสน ปสนฺโน วัดบ้านหนองจิก อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ ได้รับการขนานามว่า “เทพเจ้าแห่งเขาภูฝ้ายใกล้ชายแดนเขมร” ปัจจุบันอายุ 109 ปี สุขภาพร่างกายยังแข็งแรง เดินไปไหนมาไหนได้ปกติ และทุกวันจะมีข้าราชการ ตำรวจ ทหาร เข้ากราบไหว้ไม่ขาดสาย

“แสน คุ้มครอง” เป็นชื่อและนามสกุลเดิมของหลวงปู่แสน เกิดวันศุกร์ที่ 11 กันยายน 2๔51 ระหว่างบวชเณรได้ไปศึกษาเรียนหนังสือกับหลวงพ่อมุมวัดปราสาทเยอใต้ จนจบป.๔ และได้เรียนตำราพระเวชจากหลวงพ่อมุมทั้งภาษาขอม ภาษาธรรมบาลี จนเก่งกล้าวิชา กระทั่งอายุ 21 ปี ได้เข้าบรรพชาอุปสมบทที่วัดบ้านโพง ได้นิมนต์หลวงพ่อมุม อินทปญโญ วัดปราสาทเยอ อ.ไพรบึง จ.ศรีสะเกษ เป็นพระกรรมวาจาจารย์

คาถาเมตตามหานิยมหลวงปู่แสน ที่ท่านมักบอกให้ลูกศิษย์ คือ “นะ เมตตา โม กรุณา พุทธ ปราณี ธา ยินดี ยะ ประเสริฐเลิศไกล โม จับจิตร พุทธ จับใจธารักใคร่ ยะ มนุษสาหญิงชายทั้งหลาย เหหิจิตตังปิยังมะมะ นะ ออนใจ รัก นำ ทรัพย์สิน เงินทอง มาชูกู เพ็ง ๆ พา ๆ หา ๆ ฤา ๆ” คำว่า “เพ็ง ๆ พา ๆ หา ๆ ฤา ๆ” เป็นภาษาโบราณ เป็นคาถา เร่งให้มีลาภเร็วขึ้น เป็นมหาลาภ มีผลยิ่งใหญ่มาก

วัตถุมงคลของหลวงปู่แสนได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว เนื่องจากวัตถุมงคลของท่านมีประสบการณ์แคล้วคลาดปลอดภัย ผู้นำไปใช้มีโชคลาภมากมายทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะเหรียญเสมาครึ่งองค์หลวงปู่แสน รุ่นเจ้าสัวแสนนิยม ที่จัดสร้างโดย “วิทย์ เมืองตาก” เพื่อหารายได้สมทบทุนสร้างศาลา

เหรียญเสมาครึ่งองค์หลวงปู่แสน รุ่นเจ้าสัวแสนนิยม ออกแบบเหรียญเป็นสไตล์เหรียญเสมาหลวงปู่ทิมผสมผสานกับเหรียญเจริญพรบนหลวงพ่อคูณ ผสมผสานกับการแกะแบบสไตล์หลวงปู่สี โชคดีได้ทีมกราฟฟิกจากทีมงานฉะเชิงเทราท่านชอ ปรกโพธิ์ มาเป็นทีมงานออกแบบให้ และกลุ่มเพื่อนเก่าของวิทย์ เมืองตาก เป็นทีมงานที่ปรึกษา บวกกับลูกค้าเดิมที่เชื่อมั่นในฝีมืองานการดูแลงานของวิทย์ เมืองตาก จำนวนการสร้างเพียง 5,555 เหรียญ ซึ่งมีตั้งแต่เสมาเนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้อนวะ เนื้อชนวน เนื้ออัลปาก้า และเนื้อทองแดง

ด้วยบารมีหลวงปู่แสน ตอนนี้ท่านดังไกลถึงต่างประเทศบวกกับความสวยของเหรียญรุ่นนี้ จึงมีลูกศิษย์มากมายทั้งในและต่างประเทศ มาขอเช่าบูชารุ่นเจ้าสัวแสนนิยมนี้กันอย่างมากมาย “พระออกไม่ถึงเดือนมีผู้แขวนบูชาและมีประสบการณ์ทั้งแคล้วคลาดปลอดภัยทั้งโชคลาภมากมาย มีผู้แขวนบูชากว่าหลายร้อยคน” จึงทำให้เป็นกระแสนิยมมากที่สุด