หลวงปู่อ่อง ฐิตธัมโม

172

พระกรรมฐานแพง จันทสาโร ศิษย์เอกเจ้าปู่สมเด็จลุน เกิดวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2472 ชาวบ้านสะพือโดยกำเนิด (เป็นลูกพี่ ลูกน้องกับโยมพ่อ-โยมแม่ หลวงปู่อ่อง) ศรัทธาในศีลาจาวัตรเจ้าปู่สมเด็จลุน จึงได้ขออุปสมบทและศึกษาเวทย์วิทยาคมจากเจ้าปู่สมเด็จลุนจนแตกฉาน เห็นเหตุการณ์ที่เจ้าปู่แสดงธรรมตลอดระยะเวลาจนกระทั่งเจ้าปู่สมเด็จลุนมรณภาพ เมื่อชราลงพระกรรมฐานแพงจึงได้ย้อนกลับมาเป็นเจ้าอาวาสวัดเทพสิงหาญ และมรณภาพเมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2509 สิริอายุ 82 ปี

พระครูสถิตธรรมมงคล (หลวงปู่อ่อง ฐิตธัมโม) เป็นชาวบ้านสะพือโดยกำเนิด เป็นหลานพระกรรมฐานแพง จันทสาโร หลวงปู่อ่อง ฐิตธัมโม เกิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2471 โยมพ่อชื่อ พ่อคูณ โยมแม่ชื่อ แม่กอง ในสกุล อัจฉฤกษ์ มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน 9 คน เด็กชายอ่อง อัจฉฤกษ์ ไม่สนใจเรื่องโลกทั้งปวง ศรัทธาเลื่อมใสในศีลาจารวัตรพระกรรมฐานแพง เรียนรู้ธรรมะตั้งแต่ยังเล็ก

ครั้นอายุได้ 6 ขวบก็ขออนุญาตโยมพ่อ โยมแม่ เข้าเป็นศิษย์วัด อายุ 12 ปี บวชเป็นสามเณร โดยท่านพระครูพิศาลสังฆกิจ (หลวงปู่โทน กันตสีโล) เป็นผู้บวชให้ ต่อมาอายุครบ 20 ปี พ.ศ. 2491 ก็อุปสมบทเป็นพระโดยมีท่านพระครูพิริยกิจปัญญา “หลวงปู่ฤทธิ์ วัดสระกุศกร” เป็นพระอุปฒาย์ ได้นามว่า พระอ่อง ฐิตธัมโม

หลวงปู่อ่อง ฐิตธัมโม เริ่มออกธุดงค์ตั้งแต่เป็นสามเณร 3-4 ปีจะกลับมาครั้งหนึ่ง หลังจากพระกรรมฐานแพง มรณภาพเมื่อปี พ.ศ. 2509 เมื่อทำพิธีเกี่ยวกับเรื่องศพของพระกรรมฐานแพงเรียบร้อยแล้ว หลวงปู่อ่อง ก็ออกจากวัดเทพสิงหาญเพื่อธุดงค์ตลอดมา

วัดสิงหาญ เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่ง มีหลักฐานที่สามารถประมาณได้ว่าเคยมีพระท่านใดเป็นเจ้าอาวาสบ้าง ก็อาศัยหลักฐานอัฐิที่มีรายชื่อจารึกอยู่รอบพระเจดีย์ ดังนี้ ญาถ่านพู เป็นเจ้าอาวาส พ.ศ. 2350 – 2360 หลวงปู่อตมะ เป็นเจ้าอาวาส พ.ศ. 2365 – 2395 เจ้าปู่สมเด็จตัน เป็นเจ้าอาวาส พ.ศ. 2480 – 2494 หลวงปู่แพง พระกรรมฐานแพง เป็นเจ้าอาวาส พ.ศ. 24.. – 2509 มีหลายช่วงที่ขาดรายนามเจ้าอาวาส ในระหว่างนั้น มีพระครูพิศาลสังฆกิจ “หลวงปู่โทน กันตสีโล” ก็เป็นเจ้าอาวาสอยู่หลายปี สำหรับท่านพระครูสถิตธรรมมงคล “หลวงปู่อ่อง ฐิตธัมโม” เป็นเจ้าอาวาส มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 จนถึงปัจจุบัน

พระครูสถิตธรรมมงคล “หลวงปู่อ่อง ฐิตธัมโม” ไม่ได้แสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ใด ๆ แต่เมื่อปี สองปีนี้ ในขณะทีหลวงปู่อ่อง นั่งรับแขกญาติโยมอยู่ที่วัดเทพสิงหาญ แต่ร่างหนึ่งนั่งสวดอภิธรรมศพอยู่ที่วัดทุ่งศรี เป็น 1 ใน 4 วัด ของบ้านสะพือ อีกเรื่องหนึ่งก็คือ เสกมวลสารวัตถุในถ้ำภูมะโรง ประเทศลาว เป็นแร่เหล็กไหลกายสิทธิ์ และขณะนั่งประกอบพิธีที่วัดแห่งหนึ่งใน อ.พิบูลมังสาหาร ทั่วร่างกายเป็นประกายหลากสีเปล่งปลั่งอย่างน่าอัศจรรย์

แม้จะเป็นหนึ่งเดียวในสายพระอาจารย์ใหญ่ เจ้าปู่สมเด็จลุน ผู้มากด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ แต่ไม่เคยแสดงฤทธิ์เดชให้ใครเห็น ยกเว้นสิ่งนั้นจะเกิดขึ้นเองในคราวจำเป็น หรือมีใครทดลอง เพราะได้รับคำแนะนำจากพระกรรมฐานแพง จันทสาโร ศิษย์ผู้ใกล้ชิดเจ้าปู่สมเด็จลุนที่จำได้ทุกตัวอักษรว่า หากไม่มีเหตุจำเป็นอย่าแสดงแผงฤทธิ์เดชใด ๆ