พ่อท่านพรหม วัดพลานุภาพ

124

พ่อท่านพรหม วัดพลานุภาพ ต.ทุ่งพลา อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี เดิมท่านชื่อ ว่า พรหม นามสกุล ราชบุตร ถือกำเนิด เมื่อ เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2461 ตรงกับ วันเสาร์ เดือน 9 ปีมะเมีย โยมบิดาชื่อ นายสีแก้ว ราชบุตร โยมมาร ดาชื่อ นางคำแก้ว ราชบุตร อุปสมบทครั้งแรก (บวชตามประเพณี) เมื่อปี พ.ศ. 2591 ณ วัดห้วยเงาะ จ.ปัตตานี  อุปสมบทครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530 ณ อุโบสถ วัดพลานุภาพ

ทันทีที่อุปสมบทครั้งนี้เสร็จ ท่านก็ได้มาจำพรรษาประพฤติวัตรปฏิบัติธรรม โดยถือ “ธุดงควัตร ข้อที่ว่า อยู่ป่าช้าเป็นนิจ” เป็นเวลา 5 ปีกว่า ๆ ที่ ป่าช้า วัดห้วยเงาะ แล้วคณะกำนันผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้าน ทุ่งพลา ต่างก็เกิดความเลื่อมใสในปฏิปทาอันมั่งคงของพ่อท่าน จึงได้พากันมากราบอาราธนานิมนต์ท่านมาเป็นเจ้าอาวาส วัดพลานุ ภาพ นับแต่ปี 2536 จวบจนกระทั่งถึงปัจจุบัน

หลวงพ่อนั้นเป็นผู้ที่มีความขวนขวายในวิชาความรู้มาตั้งแต่เยาว์วัย ท่านศึกษารอบรู้ในวิชาหลายแขนง แตก ฉานในสรรพวิชาคาถาอาคมต่าง ๆ นอกจากนี้ท่านยังมีความรู้ความสามารถในเรื่องยาสมุนไพร เป็นที่พึ่งของชาวบ้านทั้งใกล้และไกล มาตั้งแต่สมัย หนุ่ม ๆ แล้ว ท่านได้รับการถ่ายทอดภูมิปัญญาความรู้ต่าง ๆ มาจากบิดาของท่าน ท่านก็ได้นำวิชาความรู้นี้มาบำเพ็ญประโยชน์ ต่อสังคม ชุมชน ในท้องถิ่นของท่าน อย่างเต็มที่เต็มกำลัง ไม่ได้เลือกว่าเป็นศาสนาเดียวกันหรือต่างศาสนา ท่านก็ให้ความเมตตาช่วยเหลือทุกคนเสมอกัน

จนในที่สุดชาวบ้านทั้งไทยพุทธไทยมุสลิม ก็ต่างพร้อมใจกันเลือกท่าน ให้เป็นผู้ใหญ่บ้าน “ลาแล เมาะยี” ตำบลกาบัง อำเภอยะหา จังหวัดยะลา ในขณะที่เกิดความไม่สงบในท้องที่อื่น ๆ ในสามจังหวัดภาคใต้ อยู่เสมอมาแต่ไหนแต่ไร แต่หมู่บ้าน ลาแล เมาะยี กลับอยู่กันอย่างสงบเป็นสุข รักใคร่สามัคคีกันเป็นอย่างดี

ท่านได้ทำหน้าที่ผู้ใหญ่บ้านนี้เป็นเวลา 18 ปี ท่านก็เริ่มมีความรู้สึกว่า ใด ๆ ในโลกนี้ ย่อม ไม่เที่ยง เกิดมาตั้งอยู่ ดับไป เป็นทุกข์ไม่มี ที่สิ้นสุด ปราศจากแก่นแท้ สมดังคำสั่งสอน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยแท้ จนเกิดความเบื่อหน่ายในทางโลก จึงได้ตั้งจิตด้วยศรัทธาอันแน่วแน่ เข้ารับการอุปสมบทเข้าเป็นพระภิกษุสงฆ์ ตามรอยพระคถาคตเจ้า ณ.อุโบสถพัทธสีมา วัดพลานุภาพ โดย มีฉายานามว่า ธมฺมธิโร ภิกขุ แปลว่า ภิกษุผู้มีความกล้าหาญในธรรม

พ่อท่านพรหมนั้น ท่านเป็นพระภิกษุสงฆ์ที่มีความเมตตาสูงมาก ไม่ว่าใครจะมีปัญหาอะไร มีความทุกข์แบบไหน เมื่อได้เข้าไปกราบนมัสการท่าน ไปสนทนากับท่าน ต่างก็ได้รับความสบายใจ ความทุกข์มลายหายไป มีแต่ความร่มเย็นในใจทุกท่านทุกคน ที่เป็นอย่างนี้นั้นก็ด้วย นับตั้งแต่ท่านอุปสมบทมา ท่านก็ได้ทำความเพียร ตามข้อวัตรปฏิบัติ อันดีงาม ตามคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อย่างสม่ำเสมอ ทุกวันมิได้ขาด

นอกจากนี้ท่านก็ยังได้ทำหน้าที่เป็นเจ้าอาวาสวัด ปกครองคณะสงฆ์ วัดพลานุภาพ ด้วยดีอย่างไม่มีความขัดข้องขัดแย้งใด ๆ ด้วย อำนาจบารมีธรรม และ ความตั้งมั่นอยู่ในพรหมวิหารสี่ ของพ่อท่านที่ได้บำเพ็ญเพียรสั่งสมจนก่อเกิดเป็นพลานุภาพบารมี เฉพาะตนของท่านนั่นเอง พ่อท่านพรหม “ท่านจะพูดอยู่เสมอ ๆ ว่า ชีวิตที่เหลือของท่าน ท่านขออุทิศให้ ประเทศชาติ พระพุทธศาสนา พระมหากษัตริย์”

พ่อท่านพรหมนั้น ท่านใช้ชีวิตบำเพ็ญสมณะรูป ของท่านอย่างสมถะและถือสันโดษ ไม่โลภมีสติอยู่เสมอ ชาวบ้านทั้งในละแวกวัดและใกล้เคียง รวมทั้งชาวบ้านในถิ่นอื่นต่าง ก็บอกเป็นเสียงเดียว ถึงความเป็น เนื้อนาบุญอันดี ของพ่อท่านปากต่อปาก จวบจนในระยะหลังนี้ ชื่อเสียงของท่าน ข้อประพฤติปฏิบัติของท่าน นับวันก็มีแต่ยิ่งขจรขจายแพร่หลาย ยิ่ง ๆ ออกไปอีก

ประการหนึ่งนั้น วัตถุมงคลของท่านที่ได้ปลุกเสก อธิษฐานจิตเดี่ยว เมื่อมีชาวบ้านเจ้าหน้าที่ข้าราชการที่ได้รับแจก เมื่อได้นำติดตัวไปใช้ต่างก็เกิดมีประสบการณ์ ให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ในทุก ๆ ด้าน สำหรับบางคนก็ได้รับโชคลาภ ค้าขายดี นปัจจุบันนี้ พุทธศาสนิกชน ทั้งใกล้และไกลต่างก็หลั่งไหล ไปที่วัดพลานุภาพทุกวันตลอดจนชาวต่างประเทศ ท่านมักจะถ่อมตนอยู่เสมอ