แนะนำหลักการดูทุเรียนว่าสุกหรือยังด้วยเทคนิคง่ายๆ
หากพูดถึงผลไม้ยอดนิยมเป็นที่โปรดปรานของใครหลายคนแน่นอนว่า “ทุเรียน” คือที่สุด รองลงมาคงหนีไม่พ้น มังคุด จนได้รับสมญานามว่า ราชาผลไม้ และ ราชินีผลไม้ สำหรับทุเรียน (Durian) มาจากภาษามาลายู ได้แก่ (Duri) ซึ่งแปลว่า “หนาม” เป็นพืชพื้นเมืองของ มาเลเซีย, อินโดนีเซีย และบรูไน
จัดเป็นผลไม้ที่มีรสชาติเฉพาะตัว ทั้งยังมีกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ หลายคนบอกว่าเหม็น แต่หลายคนก็ว่าหอม มีเนื้อสีเหลืองทองมันเหมือนคัสตาร์ดส่วนรสชาติว่ากันว่าคล้ายอัลมอนด์ มีมากมายกว่า 600 สายพันธุ์และมีราคาที่แตกต่างกันออกไปแต่ที่เป็นที่นิยมรับประทานกัน ได้แก่
พันธุ์ก้านยาว = นิยมปลูกในจังหวัดนนทบุรี ราคาแพงมาก และหารับประทานได้ยาก
พันธุ์หมอนทอง = กลิ่นไม่แรงมาก รสชาติหวานมันกำลังดี หากรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ และโรคมะเร็งได้
พันธุ์ชะนี = กลิ่นแรงและมีรสจัด นิยมนำไปแปรรูปเป็นอาหารหรือขนม
พันธุ์กระดุม = ลักษณะผลค่อนข้างเล็ก หาซื้อได้ง่ายๆ ตามท้องตลาด และมีราคาถูกกว่าพันธุ์อื่น
พันธุ์หลงลับแล = ทุเรียนพื้นเมืองจากจังหวัดอุตรดิตถ์ เนื้อเหนียวละเอียด รสชาติหวานมันและมีกลิ่นที่ไม่แรงมาก
พันธุ์พวงมณี = พวงมณีเป็นทุเรียนสายพันธุ์พื้นเมืองของภาคตะวันออกอร่อยไม่แพ้ใครมีผลที่เล็ก แต่รสหวานจัด เนื้อละเอียด แต่มีเนื้อน้อยและหารับประทานได้ยาก
พันธุ์ภูเขาไฟ = ชื่อนี้มีที่มาเพราะปลูกในบริเวณพื้นที่ภูเขาไฟเก่า เป็นแบรนด์ทุเรียนของจังหวัด ศรีสะเกษ
พันธุ์ชะนีเกาะช้าง = ปลูกที่เกาะช้างจังหวัดตราด ทำให้เป็นทุเรียนที่มีวิตามินและสารอาหารมากมาย เนื้อเนียนนุ่ม
ทุกส่วนของต้นทุเรียนเป็นยาแผนไทยชั้นดี
ทุเรียนถือเป็นผลไม้ที่มีสรรพคุณทางยานำมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับร่างกายเราได้ เช่น
ใบ = มีรสขมเฝื่อนๆ ช่วยแก้ไข้ แก้ดีซ่าน ขับพยาธิ
เนื้อ = รสชาติหวานหอม ช่วยแก้โรคผิวหนังทำให้ฝีแห้งและช่วยขับพยาธิ
เปลือกทุเรียน = รสฝาดเฝื่อน ใช้สมานแผล แก้คางทูม น้ำเหลืองเสีย ฝีตารซาง และไล่ยุง แมลง ได้ผลดี
ราก = รสฝาดขมใช้แก้ไข้และแก้ท้องร่วง
โดยปกติหากมีโอกาสซื้อทุเรียนที่สวนคุณจะได้ความสดใหม่ สุกพร้อมรับประทานแล้วแต่จะเลือกสุกมากสุกน้อยได้ตามต้องการ แต่หากเป็นการซื้อจากรถขายหรือตามตลาดทั่วไปอาจเจอกรณีพ่อค้าแม่ค้าหัวใสนำทุเรียนไปจุ่มน้ำยาเร่งสุกพูดง่ายๆคือบังคับสุก ซึ่งความหอมหวานจะสู้ทุเรียนที่สุกโดยธรรมชาติไม่ได้เพราะตอนตัดขายจะเลือกลูกที่ใกล้จะสุกประมาณ 80-90% นั่นเองเพื่อป้องกันการเน่าเสีย
ทุเรียนคุณภาพดีพร้อมรับประทาน มีวิธีดูยังไง ?
1. ดูที่ปลิง ถ้าแก่จัดปากปลิงจะบวมพองโต และขั้ว (ก้านผล) จะสากเมื่อสัมผัส
2. ดูที่หนาม หากสุกแล้ว ปลายหนามจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม เวลาเอานิ้วบีบปลายหนามจะยืดหยุ่นเข้าหากัน
3. สีเปลือกเปลี่ยนจากเขียวเป็นสีเขียวปนน้ำตาล
4. พูเปล่ง ขั้วแข็งไม่หลุด ร่องพู จะมีความชัดเจนมากและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลปนเหลือง
5. เคาะที่โกรกหนาม จะมีเสียงโพรกดังหลวม ๆ
6. กลิ่น ทุเรียนสุกจะมีกลิ่นหอมไม่เหม็น
7. ทุเรียนรสชาติดีต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 120 วัน
8. จำไว้ว่า ชะนี แกะตูด หมอนทองแกะหัว
ShopAt24 เปิดสั่งซื้อทุเรียนคุณภาพ พร้อมส่งฟรีทั่วประเทศ
สำหรับแฟนๆ ทุเรียนสายพันธุ์ชะนีและพวงมณี อยากรับประทานทุเรียนอร่อย เกรดคุณภาพ ไม่ต้องกลัวโดนหลอกขาย สามารถสั่งซื้อได้ผ่านร้านค้าออนไลน์อย่าง ShopAt24 โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ทุเรียนชะนี (สวนสมโภชน์เกาะช้าง)
- ปลูกกลางทะเลอ่าวไทย ณ เกาะช้าง
- เนื้อละเอียด แห้ง เหนียวนุ่ม กลิ่นหอม
- มีวิตามินอีและไอโอดีน รสชาติโดดเด่นกว่าทุเรียนพื้นที่อื่น
- สินค้าภายในกล่อง : 2 ลูก/6.5-7 กก./ กล่อง
- รับรองมาตรฐานโดย GAP กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- จองได้ตั้งแต่ 17 ก.พ. – 4 มี.ค. 63 จัดส่งฟรีตามที่อยู่ทั่วประเทศ
- เริ่มจัดส่งตั้งแต่วันที่ 7 มี.ค. 63 (ระยะเวลาจัดส่ง 3-5 วัน)
2. ทุเรียนพวงมณี (สวนสมโภชน์เกาะช้าง)
- ปลูกกลางทะเลอ่าวไทย ณ เกาะช้าง
- เนื้อเหลืองเข้ม รสชาติหวาน หอม กลิ่นไม่ฉุน
- วิตามินอีและไอโอดีน รสชาติโดดเด่นกว่าทุเรียนพื้นที่อื่น
- สินค้าภายในกล่อง : ทุเรียนพวงมณีเกาะช้าง 4-5 ลูก
- รับรองมาตรฐานโดย GAP กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- จองได้ตั้งแต่ 17 ก.พ. – 23 ก.พ. 63 จัดส่งฟรีตามที่อยู่ทั่วประเทศ
- เริ่มจัดส่งตั้งแต่วันที่ 26 ก.พ. 63 (ระยะเวลาจัดส่ง 3-5 วัน)
เป็นอย่างไรบ้างครับ สำหรับใครที่ชอบรับประทานทุเรียนสายพันธุ์ชะนีและพวงมณี ไม่ต้องไปหาซื้อที่ไหนไกล สามารถสั่งซื้อได้ผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชั่น ShopAt24 ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก รอรับสินค้าได้ที่บ้านสะดวกสบายอย่างยิ่ง
และที่สำคัญเรื่องคุณภาพสินค้าผ่านการรับรองจาก GAP กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไม่ต้องกลัวเลยว่าจะโดนหลอกขาย และนอกจากทุเรียนแล้วยังมีจำหน่ายมะยงชิดและมะปรางสินค้า All Fresh “จากฟาร์มสู่บ้าน” ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง ในราคายุติธรรม
อ่านเพิ่มเติม :