ขาช้อปพร้อมลุย เคาะแล้ว Easy E-Receipt ลดหย่อนภาษีปี 2568 สูงสุด 50,000 บาท เริ่มวันที่ 16 ม.ค. นี้!
เข้าสู่ปี 2568 อย่างเป็นทางการแล้ว! เชื่อว่าหลายท่านกำลังตั้งตารอมาตรการช้อปลดหย่อนภาษี 2568 ซึ่ง ครม. ได้เคาะอย่างเป็นทางการเมื่อปลายปี 2567 แล้ว โดยมาตรการ “Easy E-Receipt 2.0” เปิดโอกาสให้ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ยกเว้นห้างหุ้นส่วนสามัญ) นำค่าใช้จ่ายจากการซื้อสินค้าและบริการภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดมาลดหย่อนภาษีได้ สูงสุด 50,000 บาท มีกำหนดเริ่มตั้งแต่วันที่ 16 ม.ค.-28 ก.พ. 68
“Easy E-Receipt 2.0” เริ่มใช้ได้เมื่อไหร่
ระยะเวลาที่ใช้ได้: ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2568 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2568
เงื่อนไขการมาตรการ Easy E-Receipt 2.0
- 30,000 บาทแรก: ใช้ซื้อสินค้าทั่วไป หรือบริการจากผู้ประกอบการจด VAT และผู้ประกอบการที่ไม่ได้จด VAT
20,000 บาทเพิ่มเติม: สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP), สินค้าหรือค่าบริการที่จ่ายให้แก่วิสาหกิจชุมชน และสินค้าหรือค่าบริการที่จ่ายให้แก่วิสาหกิจเพื่อสังคม
เงื่อนไขก่อนใช้สิทธิ Easy E-Receipt 2.0
- ซื้อสินค้า หรือรับบริการจากร้านค้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยต้องมี E-Tax Invoice แบบเต็มรูปเป็นหลักฐาน
- ซื้อสินค้า หรือรับบริการจากร้านค้าที่ไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องเป็นค่าซื้อสินค้า หรือบริการดังนี้ และมี E-Receipt เป็นหลักฐาน
- ค่าซื้อหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสารที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (e-Book)
- ค่าซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว
- ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่จ่ายให้แก่วิสาหกิจชุมชนที่ได้จดทะเบียนต่อกรมส่งเสริมการเกษตร
- ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่จ่ายให้แก่วิสาหกิจเพื่อสังคมที่ได้จดทะเบียนต่อสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม
หาสินค้า OTOP ใน ALL ONLINE ง่ายนิดเดียว เพียงสังเกตสัญลักษณ์นี้!
สินค้า-บริการที่ร่วม Easy E-Receipt 2.0
- ค่าซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว
- ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่จ่ายให้แก่วิสาหกิจชุมชนที่ได้จดทะเบียนต่อกรมส่งเสริมการเกษตร
- ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่จ่ายให้แก่วิสาหกิจเพื่อสังคมที่ได้จดทะเบียนต่อสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม
ค่าซื้อทองรูปพรรณสามารถหักลดหย่อนได้หรือไม่?
- ซื้อทองได้ เฉพาะค่ากำเหน็จ (ตามมูลค่าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม) หากได้รับ e-Tax Invoice
ค่าซื้อทองคำแท่งลดหย่อนได้หรือไม่?
- ซื้อทองคำแท่งไม่ได้ เนื่องจากการขายทองคำแท่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
การซื้อสินค้าหรือการรับบริการจากผู้ไม่ได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสามารถหักลดหย่อนได้ทุกกรณีหรือไม่?
ได้เฉพาะกรณีซื้อสินค้าหรือรับบริการดังต่อไปนี้
- หนังสือ หนังสือพิมพ์และนิตยสาร
- หนังสือ หนังสือพิมพ์และนิตยสารที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
- สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ซึ่งลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว
- สินค้าหรือบริการของวิสาหกิจชุมชนที่จดทะเบียนต่อกรมส่งเสริมการเกษตร
- สินค้าหรือบริการของวิสาหกิจเพื่อสังคมที่จดทะเบียนต่อสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม
สินค้า-บริการ ที่ไม่สามารถร่วม Easy E-Receipt 2.0
- ค่าซื้อสุรา เบียร์ และไวน์
- ค่าซื้อยาสูบ
- ค่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ
- ค่าน้ำมัน และก๊าซ ค่าบริการประจุไฟฟ้า สำหรับเติมยานพาหนะ
- ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์ ค่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต และค่าบริการสำหรับบริการที่มีข้อตกลงการให้บริการระยะยาวซึ่งเริ่มต้นก่อนวันที่ 16 ม.ค.2568 หรือสิ้นสุดหลังวันที่ 28 ก.พ.2568 แม้ว่าจะจ่ายค่าบริการระหว่างวันที่ 16 ม.ค.2568 ถึงวันที่ 28 ก.พ.2568 ก็ตาม
- ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย โดยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขอื่นๆ เป็นไปตามที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
- ค่าบริการจัดนำเที่ยวที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว
- ค่าที่พักในโรงแรม
- ค่าที่พักโฮมสเตย์ไทย
- ค่าที่พักที่ไม่เป็นโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม
e-Tax Invoice & e-Receipt คืออะไร และแตกต่างจากใบกำกับภาษีและใบรับในรูปแบบกระดาษอย่างไร?
e-Tax Invoice และ e-Receipt คือ ใบกำกับภาษี (e-Tax Invoice) และใบรับ (e-Receipt) ที่ได้มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และได้ลงลายมือชื่อโดยใช้ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Certificate)
ทั้งนี้ ผู้ออก e-Tax Invoice หรือ e-Receipt ต้องได้รับอนุมัติจากกรมสรรพากรให้ออกได้ก่อน
สรุป มาตรการ Easy E-Receipt ลดหย่อนภาษีปี 2568 เริ่มวันที่ 16 ม.ค.-28 ก.พ. 68 หากใครซื้อก่อนกำหนดก็จะไม่ได้สิทธิลดหย่อนภาษี และเช็กรายการสินค้าและบริการให้ดีก่อนช้อปนะคะ เตรียมตัวให้พร้อม แล้วมาช้อปออนไลน์กันได้ที่ ALL ONLINE
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ