วันสำคัญทางพุทธศาสนา มีวันไหนบ้าง?

146

ความสำคัญของวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาของไทย

ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาประจำชาติของประเทศไทย เป็นสิ่งที่ช่วยยึดเหนี่ยวจิตใจ หล่อหลอมวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียม และประเพณีอันดีงามของคนไทยมาช้านาน ศาสนาพุทธมีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญหลายเหตุการณ์ ที่เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น วันมาฆบูชา วันอาสาฬหบูชา หรือ วันวิสาขบูชา ฯลฯ บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับวันสำคัญทางพุทธศาสนาที่สำคัญทั้ง 5 วัน ได้แก่ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา และวันออกพรรษา

1. วันมาฆบูชา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 

วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 นับเป็น “วันแห่งธรรม เนื่องจากเป็นวันแรกที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดง “โอวาทปฏิโมกข์” หลักคำสอนอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา คือการทำความดี ละเว้นความชั่ว และทำจิตใจให้บริสุทธิ์ ให้แก่พระสงฆ์เป็นครั้งแรก ณ เวฬุวันวิหาร กรุงราชคฤห์ ซึ่งเป็นวันที่พระอรหันต์ 1,250 รูป มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย แสดงถึงพลังแห่งศรัทธาและความสามัคคี โดยเหตุการณ์สำคัญนี้เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต”  ในวันนี้ของทุกปีพุทธศาสนิกชนจะนิยมออกมาทำบุญตักรบาตร ถวายสังฆทาน   และเวียนเทียน

2. วันวิสาขบูชา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6

วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เป็นอีกวันที่สำคัญที่สุดในศาสนาพุทธ เพราะเป็นวันคล้ายวันประสูตร ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า พุทธศาสนิกชนจึงนิยมร่วมกันทำบุญตักบาตร ถวายสังฆทาน เวียนเทียน ฟังธรรมเทศนา เพื่อเป็นการระลึกถึงพระพุทธเจ้า 

3. วันอาสาฬหบูชา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8

วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันที่สำคัญทางพุทธศาสนาอีกวันหนึ่ง เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาธัมมจักกัปปวัตนสูตร” กล่าวโดยย่อว่า การประกาศทางสายกลาง แก่อนุวงศ์ 5 คน เมืองพาราณสี จนเกิดมีสาวกรูปแรกขึ้น คือพระอัญญาโกณฑัญญะ เหตุการณ์ในวันนี้จึงเป็นวันแรกที่ศาสนาพุทธ มีพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ครบเป็นองค์พระรัตนตรัย ถือเป็นจุดกำเนิดของพระพุทธศาสนา ในวันนี้ของทุกปีชาวพุทธจึงนิยมทำบุญตักบาตร รักษาศีล เวียนเทียน และฟังพระธรรมเทศนา เพื่อระลึกถึงพระรัตนตรัย

4. วันเข้าพรรษา แรม 1 ค่ำ เดือน 8

วันเข้าพรรษา ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันที่พระภิกษุสงฆ์ได้หยุดพักผ่อนจากการเดินทางจาริกเผยแพร่พระพุทธศาสนา โดยการจำพรรษาที่วัดเป็นระยะเวลา 3 เดือนตลอดฤดูฝน โดยงดการเดินทางไปไหนมาไหน หรือค้างแรมที่อยู่ไม่ได้ เพื่อป้องกันความเสียหายขณะเดินทางไปเผยแพร่ศาสนาต่อชาวบ้าน เนื่องจากในอดีตนั้นพืชของชาวบ้านเคยถูกเหยียบย่ำจนได้รับความเสียหาย โดยการจำพรรษาของพระสงฆ์นั้นยังเป็นการอุทิศตนเพื่อศึกษาพระธรรมวินัย ในช่วงเข้าพรรษานี้เองพุทธศาสนิกชนจึงร่วมกันทำบุญตักบาตร ถวายหลอดไฟ ถวายสังฆทาน ถวายเทียนพรรษา ผ้าอาบน้ำฝน 

5. วันออกพรรษา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11

วันออกพรรษาตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี เป็นอีกวันสำคัญทางพุทธศาสนาที่พระภิกษุสงฆ์สามารถออกจากวัดไปจาริกตามสถานที่ต่างๆ ได้ หลังจากจำพรรษาอยู่ประจำวัดตลอดระยะเวลา 3 เดือนในช่วงฤดูฝน นอกจากนี้เป็นวันที่เปิดโอกาสให้พระสงฆ์ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ หรือเรียกอีกอย่างว่า วันมหาปวารณา ทำบุญตักบาตรเทโวเพื่อส่งพระเข้าพรรษา รวมถึงเริ่ม “ทอดกฐิน” หลังวันออกพรรษาต่อเนื่องไปอีกเป็นระยะเวลา 1 เดือน

6. วันธัมมัสสวนะ หรือ วันพระ

วันธรรมสวนะ หรือ วันพระ หมายถึง วันประชุมของพุทธศาสนิกชนเพื่อปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาในพระพุทธศาสนาประจำสัปดาห์ 

ความหมายของคำว่า “ธรรมสวนะ”

  • ธรรม หมายถึง คำสอนของพระพุทธเจ้า
  • สวนะ หมายถึง การฟัง

ดังนั้น ธรรมสวนะ จึงหมายถึง การฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า
วันธรรมสวนะ หรือ วันพระ นี้เอง ใน 1 เดือนจะมี 4 วัน และจะตรงกับวันขึ้น 8 ค่ำ, แรม 8 ค่ำ, วันขึ้น 15 ค่ำ และวันแรม 15 ค่ำ (ถ้าเดือนขาดจะเป็นวันแรม 14 ค่ำ) ชาวพุทธนิยมทำบุญตักบาตร รักษาศีล ฟังเทศน์ ตามความเชื่อของศาสนาพุทธ

วันสำคัญทางพุทธศาสนาเหล่านี้ ล้วนมีความสำคัญทางศาสนาและวัฒนธรรม สะท้อนให้เห็นถึงหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่เน้นความเมตตา กรุณา ปัญญา และความดีงาม ส่งผลให้สังคมไทยมีจิตใจสงบ ร่มเย็น และอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขเตรียมพร้อมสำหรับการทำบุญกับ ALL ONLINE สะดวกบุญ คุณเลือกได้ สินค้าครบครัน จัดส่งฟรีที่ 7-11 ทุกสาขา ทั่วประเทศ