หลักการจัดโต๊ะหมู่บูชา

483

ตำแหน่งของโต๊ะหมู่บูชาพระควรอยู่ทางทิศเหนือหรือตะวันออกของบ้านและหันหน้าออกหน้าบ้าน ไม่ควรอยู่ที่ตำแหน่งทิศตะวันตก พระประทานควรเป็นพระพุทธรูปปางประจำวันเกิดของเจ้าบ้าน หรือจะตั้งพระแก้วมรกต พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ เป็นพระประทาน และตั้งพระประจำวันเกิดเป็นลำดับรองลงมาก็ได้ ไม่ควรวางโต๊ะหมู่บูชาพระหันไปตรงกับประตู ตามหลักการจัดโต๊ะหมู่บูชา ห้องพระ ที่ใช้ในพิธีต่างๆ นั้นจะประกอบไปด้วย พระพุทธรูป พานพุ่มดอกไม้ แจกันดอกไม้ เชิงเทียน กระถางธูป แต่หากเป็นโต๊ะหมู่บูชาในบ้าน องค์ประกอบอื่นๆ จะเปลี่ยนไป บางบ้านอาจจะมีพระบูชามากกว่า 1 องค์ ทั้งพุทธรูป พระประจำวันเกิด พระอริยะสงฆ์ พระเกจิอาจารย์ พระเครื่อง รวมถึงสัตว์บูชาตามความเชื่ออย่างองค์พญานาค ครุฑ เป็นต้น ซึ่งการจัดวางตามลำดับนั้นสามารถทำได้ดังนี้

1 พระพุทธรูป
พระประธานที่อยู่ในตำแหน่งสูงสุดต้องเป็นพระพุทธรูป นั่นก็คือตัวแทนของพระพุทธเจ้า องค์พระศาสดาแห่งศาสนาพุทธ ที่นิยมบูชานั้น ได้แก่ พระแก้วมรกต พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ หลวงพ่อโสธร หลวงพ่อวัดไร่ขิง หลวงพ่อโต หลวงพ่อทอง หลวงพ่อวัดบ้านแหลม เป็นต้น การจัดวางนั้นต้องลำดับตามบารมีขององค์พระ และระวังด้วยว่าอย่าให้พระองค์อื่นในตำแหน่งต่ำกว่าหรือช่อดอกไม้บูชาอยู่ในระดับความสูงเกินกว่าองค์พระประธานของโต๊ะหมู่บูชา

2 พระอรหันต์
ในกรณีที่บ้านบูชาองค์พระอรหันต์ โต๊ะหมู่บูชาให้วางในตำแหน่งรองลงมาจากพระพุทธรูป ส่วนใหญ่พระอรหันต์ที่นิยมบูชาในบ้านได้แก่ พระสารีบุตร พระอานนท์ พระราหุล พระสิวลี พระสังกัจจายน์ พระบัวเข็มหรือพระอุปคุต เป็นต้น

3 พระอริยสงฆ์
ลำดับรองลงมาคือพระอริยสงฆ์ ที่นิยมบูชาในบ้านเรือน โต๊ะหมู่บูชา หิ้งพระ ได้แก่ หลวงปู่ทวด หลวงปู่โต ซึ่งหากมีองค์พระพระอริยสงฆ์บูชาในบ้าน การจัดลำดับตามสมณะให้พิจารณาจากการละกายสังขาร แล้วลำดับตามความอาวุโส วางในฝั่งซ้ายขององค์พระพุทธองค์ ไล่มาฝั่งขวาตามลำดับ

4 รูปเหมือนสมมติสงฆ์
หรือพระเกจิอาจารย์ นอกจากนี้ในบางบ้าน ห้องพระ โต๊ะหมู่บูชา ยังบูชาพระสมมติสงฆ์ตามศรัทธาส่วนบุคคล อาทิเช่น หลวงตามหาบัว หลวงพ่อคูณหลวงปู่ผาดหลวงปู่ถ้า หลวงปู่อ่อง รวมถึงหลวงปู่ต่างๆ ที่คนไทยผูกพันมาเนิ่นนาน


5 พระบรมรูปพระมหากษัตริย์ไทย
ลำดับต่อมาคือรูปเคารพ รูปปั้น ขององค์พระมหากษัตริย์ไทย ผู้เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทย อาทิ พ่อขุนรามคำแหง พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่5 สมเด็จพระนเรศวรมหาราชสมเด็จเจ้าตากสินมหาราช และพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชรัชกาลที่9 พระยาลิไท เสด็จเตี่ย พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ เหรียญทรงยินดี เหรียญทรงผนวชพระกำลังแผ่นดิน สามารถบูชาที่โต๊ะหมู่บูชาได้เช่นกัน




6 เทพฮินดู
โต๊ะหมู่บูชา ให้เรียงตามลำดับเช่นเดียวกัน คือ พระศิวะ เจ้าแม่อุมา เจ้าแม่กาลี พระนารายณ์ พระลักษมี พระพรหม พระสุรัสวดี พระพิฆเนศ พระอินทร์ ท้าวเวสสุวรรณ และฤาษี 


7 พระบรมสารีริกธาตุ พระธาตุ
หากที่บ้านบูชาพระบรมสารีริกธาตุ พระธาตุ ให้พิจารณาดูว่าเป็นพระบรมสารีริกธาตุของพระองค์ใด หากเป็นของพระบรมสารีริกธาตุองค์พระพุทธเจ้าให้วางในตำแหน่งรองจากพระพุทธรูป แต่หากเป็นพระธาตุของพระอรหันต์ พระอริยสงฆ์ ให้วางรองลงมาเรียงตามลำดับ โต๊ะหมู่บูชา เช่นกัน

8 อัฐิ รูปบูชาของบรรพบุรุษ
หากจำเป็นต้องอยู่บนหิ้งเดียว โต๊ะหมู่บูชา เดียวกันกับองค์พระบูชาให้วางในตำแหน่งต่ำกว่าองค์พระ แต่หากมีพื้นที่สามารถแยกบูชาต่างหากได้

9 สิ่งปลุกเสกอื่นๆ
แม้ว่าตามหลักพระพุทธศาสนาจะไม่ระบุให้มีสิ่งบูชาอื่นใด แต่ก็มีความเชื่อส่วนบุคคลที่นับถือบูชาสิ่งปลุกเสก ของขลัง เพื่อปกป้องให้ปลอดภัย ในกรณีที่บ้านบูชามีสิ่งปลุกเสกตามความเชื่อและศรัทธา อาทิ กุมารทอง รักยม นกคุ้ม วัวธนู ควายธนู เจ้าทองเรียกทรัพย์ แพะแกะ โคโน่ ตาไข่วัดเจดีย์ เสือแกะสามารถวางบูชารวมในหิ้งพระได้แต่ต้องจัดวางในพานบูชาให้เรียบร้อย แต่หากสามารถแยกหิ้งบูชา แยก โต๊ะหมู่บูชาได้จะดีกว่า

สิ่งสำคัญในการจัดวางให้เป็นระเบียบเรียบร้อย รักษาความสะอาดห้องพระ อย่าให้มีฝุ่นหรือยักไย่เกาะไม่ว่าจะเป็น หิ้งพระ หรือ โต๊ะหมู่บูชา และห้ามลืมบูชาพระเป็นอันขาด การบูชาพระแบ่งเป็น 2 ด้วยกันคืออามิสบูชา เป็นการบูชาด้วยดอกไม้ธูปเทียน และการปฏิบัติบูชา หรือการปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าคือ การให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวะนา หากปฏิบัติบูชาทั้งสองแบบแล้วจะเสริมบารมีให้เจ้าของบ้านเจริญรุ่งเรืองยิ่งๆขึ้นไป

ข้อควรปฏิบัติในการจัดโต๊ะหมู่บูชาพระ

  1. โต๊ะหมู่บูชาพระควรอยู่ในห้องชั้นบนสุดของบ้าน
  2. หากไม่มีชุดโต๊ะหมู่บูชาพระอย่างในข้างต้น ก็สามารถใช้โต๊ะหรือตั่งที่มีลักษณะและขนาดที่เหมาะสมแทนได้
  3. ควรจัดเครื่องสักการะบูชาให้ครบองค์ประกอบ โดยใช้วัสดุอย่างดี เช่น เครื่องแก้ว เครื่องกระเบื้อง เครื่องโลหะ รวมทั้งจัดให้เป็นระเบียบ สะอาด และสวยงาม
  4. ต้องมีพระพุทธรูปเป็นพระประธาน ซึ่งเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า และบูชาที่ตำแหน่งสูงสุดของโต๊ะหมู่บูชาพระ
  5. ควรจัดลำดับองค์พระอื่น ๆ ตามลำดับบารมี คือ องค์พระอรหันต์ เช่น พระสารีบุตร พระอานนท์ พระสิวลี ควรอยู่สูงกว่าองค์พระอริยสงฆ์ เช่น หลวงปู่ทวด หลวงปู่โต หากบูชาพระอริยสงฆ์หลายองค์ ควรจัดลำดับตามความอาวุโส ทั้งนี้ ให้วางองค์พระลำดับจากซ้ายมายังขวาของพระประธาน
  6. หากบูชาพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุ ควรจัดพระบรมสารีริกธาตุให้อยู่ถัดจากหรืออยู่ตำแหน่งรองจากพระพุทธรูป สำหรับพระธาตุนั้น ให้จัดตามลำดับบารมีเช่นกัน โดยบูชาถัดจากหรืออยู่ตำแหน่งรองจากองค์พระของพระธาตุนั้น เช่น วางพระธาตุพระสิวลีไว้ถัดจากองค์พระสิวลี
  7. ห้ามวางพานดอกไม้ พานพุ่ม เชิงเทียน และกระถางธูปสูงกว่าองค์พระ
  8. หากบ้านเป็นคอนโดหรืออพาร์ทเมนต์ ควรทำฉากหรือผ้าม่านกั้นมุมโต๊ะหมู่บูชาพระให้เป็นสัดส่วน

เคล็ดลับที่ในการจัดโต๊ะหมู่บูชาพระเพื่อเสริมมงคล

  1. ตำแหน่งของโต๊ะหมู่บูชาพระควรอยู่ทางทิศเหนือหรือตะวันออกของบ้านและหันหน้าออกหน้าบ้าน ไม่ควรอยู่ที่ตำแหน่งทิศตะวันตก
  2. พระประทานควรเป็นพระพุทธรูปปางประจำวันเกิดของเจ้าบ้าน หรือจะตั้งพระแก้วมรกต พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ เป็นพระประทาน และตั้งพระประจำวันเกิดเป็นลำดับรองลงมาก็ได้
  3. ไม่ควรวางโต๊ะหมู่บูชาพระหันไปตรงกับประตู
  4. ห้ามวางเตียงโดยหันปลายเตียงไปทางห้องพระ
  5. ห้ามจัดห้องพระติดกับห้องน้ำ เพราะเชื่อว่าจะทำให้เงินทองรั่วไหลได้ หากจำเป็น ให้หาตู้มาพิงผนังห้องน้ำ และจัดโต๊ะหมู่บูชาพระให้หันหน้าไปทางอื่น
  6. ควรตั้งโต๊ะหมู่บูชาพระในตำแหน่งทิศมนตรีของเจ้าบ้าน เพื่อให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์มีพลังเกื้อหนุนได้เต็มที่
  7. ไม่ควรตั้งโต๊ะหมู่บูชาพระที่ทิศกาลีของเจ้าบ้าน เพราะทิศนี้เป็นทิศเสื่อมของเจ้าบ้าน