วัดจุฬามณี สมุทรสงคราม

307

 ประวัติวัดจุฬามณี ตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม วัดจุฬามณี ตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม วัดจุฬามณี ตั้งอยู่ที่เลขที่ ๙๓ หมู่ ๙ ตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม อยู่ติดถนนสายสมุทรสงคราม-บางแพ ด้านหน้าติดกับคลองอัมพวา เชื่อมติดต่อกับคลองบางผีหลอก ห่างจากตัวจังหวัดสมุทรสงครามราวประมาณ ๗ กิโลเมตรเศษ และห่างจากที่ตั้งที่ว่าการอำเภออัมพวาประมาณ ๒ กิโลเมตร ด้านทิศเหนือติดกับถนนสายสมุทรสงคราม-บางแพ ทิศใต้ติดกับคลองอัมพวา

วัดจุฬามณี เป็นวัด เก่าแก่โบราณ มีความสำคัญในประวัติศาสตร์เกี่ยวกับ ราชวงศ์จักรี ฝ่ายราชนิกุล(ตระกูลบางช้าง) วัดจุฬามณี เดิมมีชื่อเรียกว่า วัดแม่เจ้าทิพย์ ตามประวัติสืบมาได้ว่า วัดนี้สร้างมาแต่รัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง มีกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ตามประวัติว่าท่านท้าวแก้วผลึก(น้อย) ธิดาคน หนึ่งของท่านพลาย ซึ่งเป็นนายตลาดบางช้าง มีหน้าที่เก็บภาษีอากรขนอนตลาด จึงมีทรัพย์และรายได้มากชั้นเศรษฐีผู้หนึ่ง จึงได้สร้างวัดจุฬามณี ขึ้นมาใหม่วัดจุฬามณีได้รับความอุปถัมป์ทำนุบำรุงจากมหาอุบาสก และมหาอุบาสิกาสำคัญ ซึ่งต่อมาภายหลังเป็นต้นราชวงศ์จักรี โดย ภูมิประเทศแห่งนี้เป็นที่ประสูติของเจ้าผู้ครองประเทศไทยสืบต่อกันมา

วัดจุฬามณี อำเภออัมพวา จ.สมุทรสงคราม ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 325 (สมุทรสงคราม-บางแพ) กิโลเมตร 34–35 ตำบลบางช้าง เป็น วัดโบราณริมฝั่งคลองอัมพวาต่อเนื่องกับคลองผีหลอก วัดนี้สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง สันนิษฐานว่า ท้าวแก้วผลึก (น้อย) นายตลาดบางช้าง ต้นวงศ์ราชินิกุลบางช้างเป็นผู้สร้างขึ้น บริเวณหลังวัดเดิมเป็นนิวาสสถานของคุณนาค (สมเด็จพระอมรินทรามาตย์พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 1) และคุณบุญรอด (สมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 2)

ลำดับจ้าอาวาส วัดจุฬามณี ที่สืบได้มีดังนี้
๑.พระอธิการอิน มรณภาพ
๒.พระอธิการเนียม มรณภาพ
๓.พระอาจารย์แป๊ะ ลาสิกขาบท
๔.พระอาจารย์ปาน ลาสิกขาบท
๕.หลวงพ่ออ่วม มรณภาพ
๖.พระอาจารย์นุ่ม มรณภาพ
๗.หลวงพ่อแช่ม มรณภาพ
๘.หลวงพ่อเนื่อง (พระครูโกวิทสมุทรคุณ เนื่อง โกวิโท)เถาสุวรรณ มรณภาพ
๙.พระอาจารย์อิฏฐ์ (พระครูโสภิตวิริยาภรณ์ อิฏฐ์ ภทฺทจาโร) น้อยมา องค์ปัจจุบัน

สามสิ่งที่อยู่คู่วัด ซึ่งเป็นไฮไลต์ที่นักท่องเที่ยวทุกคนไม่ควรพลาดเมื่อมาเยือนวัดนี้ ได้แก่

1. สังขารไม่เน่าเปื่อยของหลวงพ่อเนื่อง โกวิท อดีตเจ้าอาวาส
2. อุโบสถจตุรมุขหินอ่อนที่มีความสวยงาม โดยอุโบสถหลังนี้มีขนาดกว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร ปูพื้นด้วยหินหยกสีเขียวจากเมืองการาจี ประเทศปากีสถาน ภายประดิษฐานพระประธานบนฐานสูง บานหน้าต่างด้านนอกลงรักฝังมุกเป็นภาพตราพระราชลัญจกร ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลปัจจุบัน พระนามาภิไธยของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ ตลอดจนภาพเครื่องอิสริยาภรณ์ชั้นต่างๆ นอกจากนี้บริเวณฝาผนังโดยรอบพระอุโบสถ ยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติและนิทานชาดกที่ประณีต ฝีมือของจิตรกร หญิงนิตยา ศักดิ์เจริญ ซึ่งใช้เวลาในการวาดนานถึง 6 ปี
3. องค์ท่านพ่อท้าวเวสสุวรรณ หรือท้าวเวสสุวัณ ตามความเชื่อของพระพุทธศาสนาที่มีสี่ภาค รวมทั้งคาถาขอพร ร้านขายขนมทองม้วนสูตรโบราณที่สืบทอดวิธีการทำมาแต่ดั้งเดิม ตั้งอยู่บริเวณถนนทางเข้าวัด

ท้าวเวสสุวรรณวัดจุฬามณี ในความเชื่อแต่โบราณนั้น เขาว่ากันว่า มีภพภูมิทั้งชั้นมนุษย์ ชั้นสวรรค์เทวดา และชั้นนรกภูมิ โดยจะมีภพภูมิหนึ่งที่ทับซ้อนแล้วอยู่ใกล้เคียงกับชั้นมนุษย์มากที่สุด นั่นคือสวรรค์ชั้น จตุมหาราช โดยมี เทพราชาสี่องค์ คอยปกปักรักษาอยู่ตามทิศต่างๆ ราชาแห่งยักษ์ละเหล่าภูติผี มีลักษณ์เป็นยักษ์ร่างใหญ่ แลดูน่ายำเกรง แต่ถือว่าเป็นจอมยักษ์ที่ให้คุณ โดยจะปกป้องคุ้มครองคนที่ประพฤติดี ให้ปลอดภัยจากอันตราย การรบการของพลังร้าย ผีและมนต์ดำ และบ่อยครั้งก็มักจะมีสำนักวิชาหลายสำนัก สถาปณาวัตถุมงคลที่ เป็นรูปยักษ์ที่เรียกว่าท้าวเวสสุวรรณ สำหรับใส่คล้องคอเพื่อป้องกันอันตราย

พุทธคุณ : เน้นไปในการสร้างท้าวเวสสุวรรณ ที่สามารถเช่าบูชาได้จากวัดนี้ การไหว้ท้าวเวสสุวรรณคือ ธูป 9 ดอก กุหลาบแดง 9 ดอก แล้วตั้งนะโนสามจบ แล้วท่องคาถาว่า

อิติปิ โส ภะคะวา ยมมะราชาโน ท้าวเวสสุวรรณโณ
มะระณัง สุขัง อะหัง สุคะโต นะโม พุทธายะ
ท้าวเวสสุวรรณโณ จาตุมะหาราชิกา ยักขะพันตาภัทภูริโต
เวสสะ พุสะ พุทธัง อะระหัง พุทโธ ท้าวเวสสุวรรณโณ นะโม พุทธายะ

สนใจเช่าบูชา วัตถุมงคล >>>> วัดจุฬามณี สมุทรสงคราม