23 ตุลาคม วันปิยมหาราช ประวัติความสำคัญ

เป็นที่ทราบกันดีว่า วันที่ 23 ตุลาคม คือวันปิยมหาราช และเป็นวันหยุดราชการของทุกปี ซึ่งเราจะเห็นหน่วยงานราชการต่าง ๆ จัดประดับพระบรมฉายาลักษณ์และเครื่องราชสักการะ สำนักพระราชวังจัดตกแต่งพระบรมราชานุสาวรีย์  แต่น้อยคนนักจะรู้ถึงประวัติความเป็นมาของวันสำคัญวันนี้  ทำไมวันนี้จึงเป็นวันสำคัญ และสำคัญอย่างไรกับประชาชนชาวไทย วันนี้จะมาย้อนดูประวัติความเป็นมาของวันปิยมหาราชไปพร้อมกันกัน

ประวัติของวันปิยมหาราช

เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2453 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต เป็นเหตุการณ์ที่สร้างความเศร้าโศกครั้งใหญ่ของประเทศไทย โดยพระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ต่อประเทศไทยหลายด้าน ทั้งด้านการเมืองการปกครอง การสาธารณูปโภค การศึกษา ฯ  และสิ่งที่โดดเด่นคือ การประกาศเลิกทาส เป็นการหยุดวงจรการเป็นทาส เพราะเมื่อสมัยก่อนหากพ่อแม่เป็นทาส ลูกที่เกิดมาก็ต้องเป็นทาสต่อไปเรื่อยๆ ทรงพระราชทานความร่มเย็นเป็นสุขแก่ประชาชนอย่างแท้จริง ต่อมาในรัชสมัย ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทางราชการได้ประกาศให้วันที่ 23 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นวันที่ระลึกสำคัญของชาติเรียกว่า “วันปิยมหาราช” พร้อมทั้งกำหนดให้วันนี้เป็นวันหยุดราชการ เจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทยซึ่งต่อมาเป็น “กรุงเทพมหานคร” ร่วมด้วยกระทรวงวัง ซึ่งต่อมาเป็น “สำนักพระราชวัง” ได้จัดตกแต่งพระบรมราชานุสาวรีย์ ตั้งราชวัติฉัตร 5 ชั้น ประดับโคมไฟ ทอดเครื่องราชสักการะที่หน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน

ความสำคัญของวันปิยมหาราช

วันปิยมหาราช ในวันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี จัดให้มีขึ้นเพื่อให้ประชาชนได้น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่  โดยหน่วยงานต่างๆ จะจัดประดับพระบรมฉายาลักษณ์และวางพวงมาลาดอกไม้สักการะที่พระบรมรูปทรงม้า พร้อมด้วยการจัดนิทรรศการเผยแพร่พระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจ เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ในวันปิยมหาราชของทุกๆปี

พระราชประวัติสมเด็จพระปิยมหาราช (รัชกาลที่ 5)

สมเด็จพระปิยมหาราช หรือพระนามเต็มว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ และสมเด็จพระเทพศิริน-ทราบรมราชินี ประสูติเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 พระนามเดิมว่า “สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์” เมื่อพระชนม์ 9 พรรษาได้รับสถาปนาเป็นกรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ ต่อมาอีก 4 ปี ได้เลื่อนเป็น “กรมขุนพินิตประชานาถ” บรมราชาภิเษกครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 มีประราชกรณียกิจสำคัญมากมายคือ

การเลิกทาส ออกพระราชบัญญัติเลิกทาสที่แท้จริงขึ้น เรียกว่า “พระราชบัญญัติทาส ร.ศ.124” (พ.ศ.2448) เลิกเรื่องลูกทาส ในเรือนเบี้ยอย่างเด็ดขาด เด็กที่เกิดจากทาส ไม่เป็นทาสอีกต่อไป การซื้อขายทาสเป็นโทษทางอาญา ส่วนผู้ที่เป็นทาสอยู่แล้ว ให้นายเงินลดค่าตัวให้เดือนละ 4 บาท จนกว่าจะหมด

การปฏิรูประเบียบบริหารราชการ ได้ทรงปรับปรุงหน้าที่ของกรมต่าง ๆ ที่มีอยู่แต่เดิมให้เป็นระเบียบเรียบร้อยโดยรวมกรมต่าง ๆ ที่มีอยู่มากมายเวลานั้นเข้าเป็นกระทรวง กระทรวงหนึ่ง ๆ ก็มีหน้าที่อย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างพอเหมาะสม

การศึกษา ทรงโปรดให้จัดตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง แล้วมีหมายประกาศชักชวนพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการให้ส่งบุตรหลานเข้า เรียน โรงเรียนภาษาไทยนี้

การศาล ทรงตั้งกระทรวงยุติธรรมขึ้น เพื่อรวบรวมศาลต่าง ๆ ให้มาขึ้นอยู่ในกระทรวงเดียวกัน

การคมนาคม ได้โปรดเกล้าฯ ให้ขยายถนนบำรุงเมือง ถนนที่ทรงสร้างใหม่ คือ ถนนเยาวราช ถนนราชดำเนินกลาง ถนนราชดำเนินนอก ถนนดินสอ ถนนบูรพา ถนนอุณากรรณ เป็นต้น

การสุขาภิบาล ได้ทรงตั้งกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อดูแลจัดตั้งโรงพยาบาลขึ้นหลายแห่ง เช่น ศิริราชพยาบาล โรงพยาบาลบางรัก โรงพยาบาลโรคจิต และโรงเลี้ยงเด็ก

การสงครามและการเสียดินแดน ท่านทรวงควบคุมการเสียดินแดนของไทย หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็พยายามทำให้ได้ประโยชน์จากการเสียดินแดนให้มากที่สุด

การเสด็จประพาส ระหว่างที่ยังมีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ก็ได้เสด็จประพาสต่างประเทศหลายที่ เพื่อดูแบบอย่างการปกครอง และนำมาแก้ไขดัดแปลงใช้ในประเทศของเราบ้าง

การศาสนา ทรงเป็นองค์ศาสนูปถัมภกโดยแท้จริงในด้านพระพุทธศาสนา

การวรรณคดี ทรงเป็นนักประพันธ์ ซึ่งมีความชำนาญทั้งทางร้อยแก้วและร้อยกรอง เช่น ไกลบ้าน ลิลิตนิทราชาคริต เงาะป่า พระราชพิธีสิบสองเดือน เป็นต้น

พระบรมรูปทรงม้า

ตั้งอยู่ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า สร้างขึ้นในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อ โดยบริษัทซุซ เซอรเฟรส ฟองเดอร์ แล้วเสร็จเมื่อวันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2451 รูปมีขนาดโตเท่าพระองค์จริง ประทับอยู่บนหลังม้าพระที่นั่ง หล่อด้วยโลหะทองบรอนซ์ เป็นรูปม้ายืน สูง 6 เมตร กว้าง 2.5 เมตร และยาว 5 เมตร ในปัจจุบันมีประชาชนมากมายเข้าไปสักการบูชา ซึ่งดอกไม้ที่ประชาชนนิยมไปถวายคือดอกกุหลาบสีชมพู เนื่องจากเป็นสีเดียวกันวันพระราชสมภพของพระองค์ (วันอังคาร) ที่งดงาม และหนามแหลมคมเปรียบเสมือนอำนาจของพระองค์ เชื่อว่าหากบูชาแล้วจะทำให้ผู้บูชามีอำนาจมากขึ้น

วันปิยมหาราช อีกหนึ่งวันสำคัญของประวัติศาสตร์ไทยที่หลายท่านอาจจะยังไม่รู้ถึงที่มาและความสำคัญมาก่อน บทความนี้หวังว่าท่านจะได้สัมผัสถึงความกล้าหาญ ความปรีชาสามารถ และพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นที่รัชกาลที่ 5 ที่ท่านได้สร้างเอาไว้จนเป็นประเทศไทยมาจนถึงปัจจุบัน สำหรับท่านใดที่มีความศรัทธาสามารถเดินทางไปสักการะดอกไม้กันได้ ที่ลานพระบรมรูปทรงม้าซึ่งตั้งอยู่แถวพระราชวังดุสิต ถนนพระราชดำเนินนอก หรือบูชาเหรียญที่ระลึก บูรพกษัตริย์ไทย เพื่อความเป็นสิริมงคลและเก็บไว้เป็นมรดกแก่ลูกหลานวงศ์ตระกูลต่อไป สามารถได้ฟรีโดยทีมงานผู้ชำนาญการ แอดไลน์ @Amulet24

ป้ายยาโซเชียล

Bonus Challenge Special ออเดอร์พุ่ง โบนัสเพิ่ม สูงสุด 400 บาท

Bonus Challenge ออเดอร์พุ่ง โบนัสเพิ่ม อากาศที่ร้อน ยังไม่ฮอตเท่าโบนัสในเดือ...

ขายปั๊ป รับโบนัส แจก Top-Up Bonus ฉ่ำๆ 5 ออเดอร์แรก รับเลย 50 บาท!

เมษายนนี้ ฮอตกว่าที่เคย! นักขาย ALL ONLINE Affiliate ขายปั๊ป รับโบนัสเพิ่ม ฉ่ำๆ...

บทความที่เกี่ยวข้อง

สืบสานประเพณี “วันมาฆบูชา”

วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ 2568 “มาฆบูชา” วันแห่งการทำบุญ สังฆทาน เสริมสร้างความศร...

28 ธันวาคม วันปราบดาภิเษก พระเจ้าตากสิน “ผู้กอบกู้แผ่นดิน”

ในวันที่ 28 ธันวาคม ของทุกปี ถือเป็นวันที่สำคัญในประวัติศาสตร์ไทย เนื่องจากเป็น...

มอบความรักพร้อมความเฮง! วัตถุมงคลเพื่อคุณพ่อในวันพ่อ

เมื่อถึงวันพ่อแห่งชาติ หลายคนมักมองหาของขวัญพิเศษเพื่อมอบให้กับคุณพ่อที่เรารัก ...