วันเข้าพรรษา อิ่มบุญอานิสงส์ใหญ่

โดยทั่วไปแล้ววันเข้าพรรษาส่วนใหญ่จะไม่ตรงกันทุกปี เพราะถือเอาแรม 1 ค่ำ เดือนแปด เป็นสำคัญ ซึ่งถ้าปีใด มีเดือนแปดสองหน (ปีอธิกมาส) ก็เลื่อนไปในวันแรม  ค่ำ เดือนแปดหลังให้เป็นวันเข้าพรรษาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ต่อเนื่องมาจากวันอาสาฬหบูชา

การเข้าพรรษา หมายถึงการอธิษฐานอยู่ประจำที่ไม่เที่ยวจาริกไปยังสถานที่ต่างๆ เว้นแต่มีกิจจำเป็น ซึ่งเป็นพุทธบัญญัติ ที่พระภิกษุทุกรูปจะต้องปฏิบัติตาม ช่วงจำพรรษาจะอยู่ในช่วงฤดูฝน คือวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปด ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนสิบเอ็ดของทุกปี ดังนั้น วันเข้าพรรษา จึงเป็นวันที่พระภิกษุในพระพุทธศาสนาอยู่ประจำในวัด และไม่ไปค้างแรมในที่อื่น ตลอด 3 เดือนในฤดูฝน โดยวันเข้าพรรษาแปลว่า “พักฝน” หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่างๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่นๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน

สรุปใจความสำคัญของวันเข้าพรรษา

  • พระภิกษุจะหยุดจาริกไปยังสถานที่อื่นๆแต่จะเข้าพักอยู่ประจำในวัดแห่งเดียวตามพุทธบัญญัติ
  • การที่พระภิกษุอยู่ประจำที่นานๆ ย่อมมีโอกาสได้สงเคราะห์กุลบุตรที่ประสงค์จะอุปสมบทเพื่อศึกษาพระธรรมวินัยและสงเคราะห์พุทธบริษัททั่วไป
  • เป็นเทศกาลที่พระพุทธศาสนิกชนงดเว้นอบายมุขและความชั่ว เช่น การดื่มสุราสิ่งเสพติด และการเที่ยวเตร่เฮฮา เป็นต้น
  • ในช่วงเวลาพรรษา พุทธศาสนิกชนทั่วไปจะบำเพ็ญทาน รักษาศีลฟังธรรม และเจริญภาวนามากขึ้น

อย่างไรก็ตาม วันเข้าพรรษาชาวพุทธส่วนใหญ่จะเข้าวัดทำบุญและอีกสิ่งหนึ่งที่นิยมทำกับนั่นก็คือ การถวายสังฆทาน หรือถวายของที่จำเป็น เพื่อความอิ่มบุญในวันเข้าพรรษา อาทิ ชุดถวายพระ หมอนกราบ-อาสนะสงฆ์ เทพพนม ธูปหอมแบบยาว ซึ่งชาวพุทธส่วนใหญ่มักจะเน้นความสะดวกด้วยการซื้อเครื่องสังฆทานที่ทางร้านจัดไว้เป็นชุดสำเร็จรูปแล้ว โดยบางครั้งพระสงฆ์ก็อาจจะใช้ประโยชน์ได้เพียงบางส่วนเท่านั้น

ด้วยในวันเข้าพรรษา พระสงฆ์ต้องจำวัดถึง 3 เดือน การจะออกไปไหนก็ไม่สะดวก การที่ญาติโยมไปทำบุญ ถวายสังฆทานที่วัดถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะนอกจากจะได้ทำบุญแล้ว ยังเป็นการนำของที่พระสงฆ์ต้องการใช้ในการจำพรรษามาถวายไปด้วยในตัว การถวายสังฆทานนั้นเข้าใจกันโดยทั่วไปว่า คือการนำถังใส่จตุปัจจัยสีเหลืองไปถวายแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งหรือหลายรูปเท่านั้น แต่ความจริงแล้วสังฆทานอาจหมายถึงการถวายปัจจัยวัตถุใดๆ ก็ได้ที่เป็นประโยชน์แก่คณะสงฆ์โดยส่วนรวม

หล่อเทียนพรรษา ก่อนวันเข้าพรรษา ที่มักจะเห็นกันบ่อยๆ ก็คือพิธีหล่อเทียนจำนำพรรษา ซึ่งตามสถานศึกษา ในโรงเรียน ตามวัด สถานที่ราชการ และตามห้างสรรพสินค้า ที่จะจัดให้มีการหล่อเทียน แม้ว่าเทียนอาจไม่ได้มีความจำเป็นที่ต้องใช้สักเท่าไหร่แล้ว แต่ก็เป็นกิจกรรมส่งเสริมและถือว่าให้ความสำคัญกับประเพณีที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาที่สืบต่อกันมานั่นเองถวายเทียนพรรษา เมื่อทำการหล่อเทียนพรรษาเสร็จแล้ว ก็ต้องมีพิธีถวายเทียนพรรษา แล้วก็มีประเพณี พิธีแห่เทียนจำนำพรรษาที่ชาวพุทธนิยมทำกัน ซึ่งจะมีขบวนสาธุชน ดอกไม้ อาจมีการเวียนรอบพระอุโบสถก่อน แล้วจึงนำไปถวายแด่คณะสงฆ์วัดนั้นๆ สมัยนี้นอกจากเทียนแล้ว การถวายหลอดไฟ และอุปกรณ์ไฟฟ้า ซึ่งก็เป็นการถวายแสงสว่างให้กับพระภิกษุสงฆ์เหมือนกับเราได้ถวายเทียนพรรษานั่นเอง

ป้ายยาโซเชียล

Bonus Challenge Special ออเดอร์พุ่ง โบนัสเพิ่ม สูงสุด 400 บาท

Bonus Challenge ออเดอร์พุ่ง โบนัสเพิ่ม อากาศที่ร้อน ยังไม่ฮอตเท่าโบนัสในเดือ...

ขายปั๊ป รับโบนัส แจก Top-Up Bonus ฉ่ำๆ 5 ออเดอร์แรก รับเลย 50 บาท!

เมษายนนี้ ฮอตกว่าที่เคย! นักขาย ALL ONLINE Affiliate ขายปั๊ป รับโบนัสเพิ่ม ฉ่ำๆ...

บทความที่เกี่ยวข้อง

สืบสานประเพณี “วันมาฆบูชา”

วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ 2568 “มาฆบูชา” วันแห่งการทำบุญ สังฆทาน เสริมสร้างความศร...

28 ธันวาคม วันปราบดาภิเษก พระเจ้าตากสิน “ผู้กอบกู้แผ่นดิน”

ในวันที่ 28 ธันวาคม ของทุกปี ถือเป็นวันที่สำคัญในประวัติศาสตร์ไทย เนื่องจากเป็น...

มอบความรักพร้อมความเฮง! วัตถุมงคลเพื่อคุณพ่อในวันพ่อ

เมื่อถึงวันพ่อแห่งชาติ หลายคนมักมองหาของขวัญพิเศษเพื่อมอบให้กับคุณพ่อที่เรารัก ...