เปิดลิสต์! รายการลดหย่อนภาษี 2567 สำหรับยื่นภาษีปี 2568

142

เมื่อใกล้ถึงเวลายื่นภาษี หลายคนอาจกำลังมองหาวิธีที่จะช่วยลดหย่อนภาษีให้ได้มากที่สุด เพื่อให้ประหยัดค่าใช้จ่ายและจัดการภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในปีภาษี 2567 ที่กำลังจะต้องยื่นในปี 2568 นี้ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ช่วงยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.91,ภ.ง.ด.90 จะอยู่ช่วงประมาณเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม (สำหรับยื่นภาษีออนไลน์) ของทุกปีสำหรับรายการลดหย่อนภาษีมีความหลากหลายและครอบคลุมหลายด้าน มาดูกันว่ามีรายการใดบ้างที่คุณสามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้!

ลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว
  1. ลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
  2. คู่สมรส 60,000 บาท สำหรับสามี-ภรรยาที่จดทะเบียนสมรส และเป็นคู่สมรสที่ไม่มีรายได้ หรือยื่นแบบฯ รวมกัน
  3. ค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร หักสูงสุดไม่เกินปีละ 60,000 บาท โดยมีเงื่อนไขดังนี้
    • ต้องมีใบรับรองแพทย์และใบเสร็จรับเงินจากสถ านพยาบาลที่เกิดขึ้นจริงในช่วงวันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 65
    • สามีใช้สิทธินี้ได้ หากภรรยาไม่มีรายได้ หรือมีรายได้แต่ยื่นแบบฯ รวมกัน
  4. ลดหย่อนบุตร 30,000 บาท/คน โดยมีเงื่อนไขดังนี้
    • ต้องเป็นบุตรตามกฎหมาย
    • บุตรบุญธรรมใช้ได้ไม่เกิน 3 คน
    • บุตรอายุไม่เกิน 20 ปี
    • ในกรณีที่บุตรอายุ 21-25 ปี ต้องกำลังศึกษาในระดับชั้น ปวส.ขึ้นไป
    • บุตรมีเงินเดือนในปีนั้นไม่เกิน 30,000 บาท
  5. บุตรคนที่ 2 ขึ้นไป ลดหย่อนได้ 60,000 บาท/คน โดยมีเงื่อนไขดังนี้
    • เกิดตั้งแต่ปี พ.ศ.2561
    • บุตรอายุไม่เกิน 20 ปี
    • เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
  6. ค่าเลี้ยงดูบิดา-มารดา อาเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายยุ 60 ปีขึ้นไป (คนละ) 30,000 บาท ไม่เกิน 4 คน รวม 120,000 บาท โดยมีเงื่อนไขดังนี้
    • บิดา-มารดา อายุ 60 ปีขึ้นไป
    • มีเงินได้ในปีนั้นไม่เกิน 30,000 บาท
    • บัตรสามารถใช้สิทธิ์ได้เพียงคนเดียว
  7. อุปการะผู้พิการหรือทุพพลภาพ 60,000 บาท/คน โดยมีเงื่อนไขดังนี้
    • ผู้พิการต้องมีบัตรประจำตัวผู้พิการ
    • ผู้พิการมีเงินได้ในปี 2567 ไม่เกิน 30,000 บาท
ลดหย่อนภาษีกลุ่มประกันและการลงทุน
  1. เงินสมทบประกันสังคม แบ่งตามประเภทเงินสมทบ ดังนี้
    • ผู้ประกันตนมาตรา 33 ลดหย่อนได้สูงสุด 9,000 บาท
    • ผู้ประกันตนมาตรา 39 ลดหย่อนได้สูงสุด 5,184 บาท  
    • ผู้ประกันตนมาตรา 40 ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 840-3,600 บาท 
      *ลดหย่อนภาษีได้ตามจริง ขึ้นอยู่กับเงินที่จ่ายสมทบไว้ของแต่ละคน 
  2. ประกันชีวิตทั่วไป หรือเงินฝากที่มีประกันชีวิต ลดหย่อนได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท โดยมีเงื่อนไขดังนี้
    • มีความคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป
    • มีผลตอบแทนคืนไม่เกิน 20% ของดอกเบี้ย
    • เมื่อรวมกับประกันสุขภาพตนเอง ต้องไม่เกิน 100,000 บาท
  3. ประกันสุขภาพตนเอง ลดหย่อนได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 25,000 บาท แต่เมื่อรวมเบี้ยประกันชีวิต ต้องไม่เกิน 100,000 บาท
  4. ประกันสุขภาพบิดา-มารดา ลดหย่อนได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยมีเงื่อนไขดังนี้
    • บิดา-มารดามีเงินได้ในปี 2567 ไม่เกิน 30,000 บาท
    • บุตรบุญธรรมใช้สิทธิ์ไม่ได้
    • บุตรหลายคนหารเฉลี่ยกันได้
  5. ประกันชีวิตคู่สมรสที่ไม่มีรายได้ ลดหย่อนได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท โดยมีเงื่อนไขดังนี้
    • สามี-ภรรยาต้องจดทะเบียนสมรส
    • ต้องมีสถานะเป็นสามี-ภรรยาตลอดทั้งปี
  6. ประกันชีวิตบำนาญ ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
  7. กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
  8. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / กบข. / สงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ ไม่เกิน 500,000 บาท
  9. กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) 13,200 บาท
  10. กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท ทั้งนี้ เมื่อรวมเงินที่ซื้อทั้งหมดในข้อ 6-10 ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
ลดหย่อนภาษีกลุ่มบริจาค
  1. บริจาคสนับสนุนการศึกษา การกีฬาเพื่อประโยชน์สาธารณะ และโรงพยาบาลรัฐ ลดหย่อนได้ 2 เท่าของที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อนอื่นแล้ว โดยมีเงื่อนไขดังนี้
    • ต้องเป็นสถานศึกษาที่ ศธ. กำหนด
    • ต้องเป็นสถานพยาบาลของราชการ
    • ต้องเป็นหน่วยงานด้านกีฬาที่สังกัดสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทย
    • บริจาคผ่าน e-Donation เท่านั้น
  2. บริจาคเงินเพื่อสาธารณกุศล ลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อนอื่นแล้ว 
  3. เงินบริจาคแก่พรรคการเมือง 10,000 บาท
  4. เงินบริจาคทั่วไป ลดหย่อนได้ตามที่บริจาคจริง และรวมกับเงินบริจาคอื่น ต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนอื่นแล้ว
  1. ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยสูงสุด 100,000 บาท
  2. โครงการ “Easy E-Receipt” ลดหย่อนสูงสุด 50,000 บาท เป็นการนำใบเสร็จค่าใช้จ่ายในรูปแบบ e-Tax Invoice หรือ e-Receipt ที่ได้ในช่วง 1 มกราคม 2567 – 15 กุมภาพันธ์ 2567 มาใช้ลดหย่อนภาษีของปี’68
  3. ส่งเสริมการท่องเที่ยว 55 จังหวัดเมืองรอง โดยมีรายละเอียดดังนี้
    • ลดหย่อนนภาษีได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท
    • เป็นการท่องเที่ยวในช่วงระยะเวลา 1 พฤษภาคม – 30 พฤศจิกายน 2567
    • ค่าใช้จ่ายที่นำมาลดหย่อนภาษีปี 2567 ได้ ต้องเป็นค่าบริการท่องเที่ยวมัคคุเทศก์ (ค่าแพ็กเกจทัวร์), ค่าที่พักในโรงแรม รีสอร์ต หรือโฮมสเตย์ โดยจะต้องมีใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ผ่านระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt)

และทั้งหมดนี้ก็เป็นรายการลดหย่อนภาษีสำหรับปี 2567 ที่สามารถนำไปลดหย่อนได้ในปี 2568 โดยมีทั้งรายการที่เหมือนเดิมทุกปีอยู่แล้ว และที่ต่างไปจากเดิมคือกลุ่มที่เพิ่มเข้ามาเพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้ในการนำมาลดหย่อนภาษี ซึ่งผู้มีรายได้สามารถวางแผนนำมาใช้ลดหย่อนภาษีของตนเอง เพื่อลดภาระการจ่ายภาษีลงได้ค่ะ และหากมีข้อมูลอัปเดต เราจะรวบรวมมาให้อีกครั้ง อย่าลืมติดตาม ALL ONLINE กันนะคะ