คาถาพระฉิมพลี แม่ชีบุญเรือน โตงบุญเติม พลิกดวงให้โชคลาภ

6570

คุณแม่(แม่ชี) บุญเรือน โตงบุญเติม ท่านเป็นที่เคารพนับถือในหลายด้าน ทั้งในเรื่องของโชคลาภ ค้าขาย การรักษาโรค ท่านอยากให้ผู้ที่มาปฏิบัติธรรมหรือผู้ที่ทำบุญได้มีความเป็นอยู่ที่ดี มีเงินทอง เวลามาปฏิบัติธรรมจะได้ไม่มากังวลคิดมาก ท่านจึงเมตตาให้คาถาและของดีมากมาย พลิกชะตาชีวิตจากผู้ที่ไม่มี ขัดสน ตกต่ำ ให้กลับฟื้นดีกว่า โดยที่ไม่เกินกฏแห่งกรรม สุดยอดเคล็ดลับพระคาถาเรียกทรัพย์ เรียกเงินทองให้ร่ำรวย มีกินมีใช้ ไม่ขาดมือ เป็นคาถาที่ร่ำลือกันมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 ผู้ที่สวดมนต์เห็นผลกันทุกท่าน

พระคาถาฉิมพลี ของคุณแม่บุญเรือน
คุณแม่บุญเรือนโตงบุญเติมอุบาสิกาผู้มีพลังจิตมหัศจรรย์

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ

” นะชาลีติฉิมพาลี จะ มหาเถโร
สุวรรณะมามา โภชนะมามา วัตถุวัตถามามา
พลาพลังมามา โภคะมามา มหาลาโภมามา
สัพเพชะนา พหูชะนา ภวันตุเม “

คาถาพระฉิมพลี หรือ คาถาพระสีวลี

คุณแม่บุญเรือนได้จากสมาธิจิตเมื่อวันศุกร์ที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ จากตำราที่บันทึกไว้ได้ระบุว่า เป็นคาถาที่ท้าวสักกเทวราชหรือพระอินทร์นำมาถวายแด่คุณแม่บุญเรือน โดยเนื้อหาบทสวดได้กล่าวสรรเสิญพระฉิมพลี ซึ่งเป็นอีกพระนามของพระสิวลี ผู้เป็นเลิศด้านโชคลาภมากๆ ใครที่ได้สวดเป็นประจำเช้าค่ำ จะมีผลทางลาภช่วยเสริมดวงชะตาเสริมโชคลาภ เรียกทรัพย์เข้ามาสู่ชีวิต ส่งผลให้ชีวิตเจริญรุ่งเรืองไม่อับจนไม่ตกต่ำ มีโอกาสพลิกชะตาดวงชีวิตได้อย่างน่าอัศจรรย์ใจ

ถ้าหากได้สวดมนต์บทนี้เช้าค่ำ เป็นประจำ รวมถึงปฎิบัติเป็นกรรมฐานทำให้เข้าถึงฌานแล้ว จะร่ำรวยเป็นเศรษฐี มหาเศรษฐี เงินทองจะหลั่งไหลมาเอง สวดให้ได้วันละ108 จบ เช้า-เย็นหรือตามกำลังวัน และจงดำรงตนให้มั่นคงอยู่ในศีลเป็นปกติ หมั่นเจริญภาวนา สมาธิ จะร่ำรวยเป็นเศรษฐีใหญ่ จะหลุดพ้นจากกองหนี้ กองทุกข์ รอดจากความทุกเค็ญนี้ปลดเปลื้องความยากแค้นทั้งหลายมีแต่ลาภเข้ามาสู่ชีวิต

ท่านให้สวดตามกำลังวันเพื่อบูชาพระสิวลีมหาเถระหรือพระฉิมพลีจะเป็นมหาโชคโภคทรัพย์ มหาลาภ และเจริญ ด้วยจตุรพิศพรชัย คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณธนสารสมบัติ ให้ผู้สวดมนต์มีความสุข ประสบแต่สิ่งอันพึงปรารถณาทุกประการ

อธิษฐานจิตหลังสวดมนต์
ขออำนาจของพระรัตนตรัยจงเป็นที่พึ่ง ขออัญเชิญบารมีอันสูงยิ่งของคุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม
จง สถิตสถาพรอยู่กับท่านทั้งหลาย แม้ประสงค์สิ่งใดจงสมประสงค์ทุกประการ และถึงพร้อมด้วยธรรมสี่ประการคือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ทุกท่าน เทอญ ฯ

ประวัติแม่ชีบุญเรือน โตงบุญเติม ฆราวาสผู้เปี่ยมด้วยธรรม

คุณแม่บุญเรือน กลิ่นผกา เกิดเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 4 ปีมะเมียขึ้น 15 ค่่าเวลา 11.20 น. หรือตรงกับวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2437 ท่านได้ก่าเนิดในครอบครัว ที่มีฐานะ ค่อนข้างยากจน มีนายยิ้ม กลิ่นผกา เป็นบิดา และมี นางสวน กลิ่นผกา เป็นมารดา สถานที่เกิดอยู่ที่คลองสามวา อ่าเภอมีนบุรี จังหวัดพระนคร ต่อมาบิดามารดาของท่านได้ ย้ายไปอยู่ที่ต่าบลบางปะกอก อ่าเภอราษฎร์บูรณะ จังหวัดธนบุรี อยู่ในละแวกบ้านชาวสวน การศึกษาเล่าเรียนและชีวิตในครอบครัว

ชีวิตในวัยเยาว์ คุณแม่บุญเรือน เป็นผู้ได้รับความรักความทะนุถนอมจากบิดามารดา เป็นอันมาก พอเหมาะสมกับ ฐานะของครอบครัว ท่านได้รับการศึกษาให้รู้ภาษาไทย พออ่านออกเขียนได้ และเชื่อว่าท่านได้รับการฝึกสอน จากบิดามารดา ให้มีความรอบรู้ และ สามารถท่าหน้าที่เป็นแม่บ้านแม่เรือนเป็นอย่างดี คุณแม่บุญเรือน มีความสามารถในการท่ากับข้าวหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นน้่าพริก อาหารจ่าพวกแกงและ ต้ม ท่านก็สามารถท่าได้อย่างดี นอกจากนี้ก็ยังมีความสามารถในการเย็บจักร ตัดเสื้อผ้า ได้เมื่ออายุราว ๆ 15 ปี ท่านได้รับการฝึกสอนจากในครอบครัว ให้รู้จักการนวด ซึ่งท่านได้ให้ความสนใจอยู่เป็นอันมาก

จนในที่สุดท่านได้รับครอบวิชาหมอนวด และ ต่าราหมอนวด จากปู่ของท่าน คืออาจารย์กลิ่น ซึ่งในขณะนั้นถือว่าเป็นหมอนวดผู้มีชื่อเสียง จากการได้รับมอบต่าราหมอนวด ท่าให้ท่านได้ศึกษาวิธีการนวด จากต่าราดังกล่าวจนเกิดความช่านาญ และกลายเป็นแม่หมอผู้มี ชื่อเสียงในการนวดต่อมาในภายหลัง

ขณะเป็นวัยรุ่น ท่านได้รู้จักกับคุณลุงของท่าน คือ หลวงตาพริ้ง ซึ่งเป็นพระภิกษุ อยู่ที่วัดบางปะกอก ด้วย ความคุ้นเคยกับหลวงตาพริ้ง ผู้เป็นลุงนั่นเอง ท่านได้เริ่มน่าอาหารไปถวายอยู่บ่อย ๆ ท่าให้ท่านได้รับการอบรมสั่งสอนให้ รู้จักธรรมะ และ คุณธรรมในการด่าเนินชีวิต ตามแนวค่าสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านได้เริ่มเลื่อมใส ศรัทธา และมีใจรัก ในงานบุญงานกุศลมากขึ้นอันน่าจะถือได้ว่า นี่เป็นปฐมเหตุส่าคัญที่ท่าให้ท่านบ่าเพ็ญกรณียกิจเป็น นักบุญในพระพุทธศาสนาในเวลาต่อมา หลวงตาพริ้ง จึงเป็นพระภิกษุที่คุณแม่บุญเรือนมีความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก และวัดบางปะกอกนี้ก็น่าจะเป็นวัดที่ท่าให้ท่านเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จนน่าไปสู่การบ่าเพ็ญภาวนาในเวลาต่อมา ชีวิตสมรสและบุตรธิดา

เมื่อมีอายุพอสมควร ก็ได้ท่าการสมรสกับ ส.ต.ท.จ้อย โตงบุญเติม ซึ่งขณะนั้นเป็นต่ารวจประจ่าสถานีต่ารวจนคร บาลสัมพันธวงศ์ ได้อยู่กินกันฉันท์สามีภรรยาที่ดีตลอดมา แต่ก็ไม่มิบุตรธิดาด้วยกัน และเนื่องจากไม่มีบุตรธิดาด้วยกัน ท่า ให้คุณแม่ บุญเรือน โตงบุญเติมได้รับอุปการะเด็กหญิงชายอื่นบ้าง ขณะที่ยังใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับ ส.ต.ท.จ้อย ด้วยความ เลื่อมใสในพุทธศาสนา ได้ไปฟังพระสวดมนต์ ฟังธรรมที่วัดสัมพันธวงศ์อยู่บ่อย ๆ ทั้งได้ฝึกหัดท่าวิปัสสนากัมมัฐานที่วัดนี้ ด้วย ต่อมา ส.ต.ท.จ้อย ผู้เป็นสามี ได้ลาอุปสมบท ที่วัดสัมพันธวงศ์ เป็นเวลา 1 พรรษา ท่าให้คุณแม่บุญเรือน ได้มีความ ใกล้ชิดและผูกพันในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก เมื่อสามีสึกออกมาแล้ว คุณแม่บุญเรือน ก็ได้ลาสามีบวชเป็นชีและอยู่ ปฏิบัติธรรมที่วัด สัมพันธวงศ์ ได้พากเพียรพยายามฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐาน ได้อยู่ปฏิบัติที่ศาลาวัดสัมพันธวงศ์ จนท่าให้ เกิดความเข้าใจ และ ปลอดโปร่งในธรรมะ รักความสงบประกอบการกุศลต่าง ๆ ช่วยปักหมอนส่าหรับธรรมาสน์พระสวด ปาฏิโมกข์ เป็นต้น ชีวิตสมรสระหว่างคุณแม่บุญเรือน และ ส.ต.ท.จ้อย โตงบุญเติม อยู่กินกันมา

จนกระทั่งในปี 2479 ซึ่งขณะนั้นท่านมีอายุได้ 42 ปี ส.ต.ท.จ้อย ได้ถึงแก่กรรมลง เนื่องจากได้เข้าไปช่วย ดับเพลิง เมื่อครั้งเพลิงไหม้ใหญ่ตลาดน้อย อ่าเภอบางรัก ต่อจากนั้นมา คุณแม่บุญเรือนก็ได้ครองความเป็นโสด บ่าเพ็ญ งานบุญ และได้ใช้นามสกุล โตงบุญเติม ของสามีตลอดมา ในระหว่างครองชิวิตร่วมกับ ส.ต.ท.จ้อย โตงบุญเติม คุณแม่ บุญเรือน ได้ประกอบอาชีพตัดเย็บผ้า เป็นการช่วยสามีอีกแรงหนึ่ง และรับรักษาโรคโดยเป็นหมอนวด ซึ่งการเป็นหมอนวด เพื่อรักษาโรคนั้น ท่านท่าเป็นการกุศลไม่มีสินจ้าง นอกจากนั้นท่านยังมีความสามารถในการท่าคลอด หรือเป็นหมอต่าแย แผนโบราณด้วย ซึ่งท่าให้ท่านมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมากในขณะนั้น ในระหว่างนี้ท่านก็ใช้เวลาในการบ่าเพ็ญบุญ ถือศีล สวด มนต์ ฟังธรรม ด้วยความเคารพเลื่อมใสอย่างแท้จริง

ผลส่าเร็จของงานบุญ ด้วยความตั้งใจจริง ในการบ่าเพ็ญเพียร หัดวิปัสสนากัมมัฏฐาน ท่าใจให้สงบระงับ ฝึกใจ ให้แข็งแกร่งแก่กล้า มองเห็นธรรมอันวิเศษของ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังผลให้เป็นที่ทราบในหมู่ผู้ร่วมวิปัสสนา ด้วยกัน ว่าคุณแม่บุญเรือนได้ส่าเร็จแล้วอย่างแท้จริง คือส่าเร็จใน จตุตถฌาน หรือ ฌาน4 อันประกอบด้วย ปฐมฌาน หมายถึง ฌาน ขั้นแรก มีองค์ 5 คือ ยังมีตรึก เรียกว่า วิตก และ ตรอง เรียกว่า วิจารณ์เหมือนอารมณ์แห่งจิต ของคนสามัญ ซ้่ายังมีปิติ คือ ความอิ่มใจ มีความสุข คือความสบายใจ เกิดแต่ความวิเวก คือ ความเงียบสงบ ประกอบด้วยจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งลงไปได้ เรียกว่า “เอกัคตา”

ทุติยฌาน หมายถึง ฌาน ชั้นสอง ซึ่งละวิตกและวิจารณ์ ในปฐมฌานลงไปได้ คงเหลือแต่ ปิติและ สุขอันเกิดแก่สมาธิกับเอกัคตา ตติยฌาน เป็น ฌาน ชั้นสาม คงเหลือแต่องค์สอง คือละปิติเสียได้ คงเหลือแต่สุขและเอกัคตา จตุตถฌาน เป็น ฌานส่าคัญชั้น 4 มีองค์ 2 คือละสุขเสียได้กลายเป็น อุเบกขาคือวางเฉย คู่กับเอกัคตา ฌาน 4 จัดเป็นรูป สมาบัติ มีรูปธรรมเป็นอารมณ์ สงเคราะห์เข้าไปในรุปาวจรภูมิ

ฌานทั้ง 4 นี่แหละที่เชื่อกันว่า แม่ชีบุญเรือน โตงบุญเติม ได้บ่าเพ็ญเพียรฝึกปฏิบัติจนประสบความส่าเร็จ และด้วยเหตุที่ ปรากฏต่อมาว่า แม่ชีบุญเรือน มีความเชี่ยวชาญในวิปัสสนากัมมัฏฐาน จนสามารถจะเข้าวิปัสสนาเมื่อใดก็ได้ และไม่ จ่าเป็นต้องยึดสิ่งมีรูปเป็นอารมณ์ ทั้งอาจเข้าวิปัสสนาโดยลืมตาก็ได้โดยเร็วพลันด้วยเหตุนี้ ทางด้านอรูปฌาน ก็เชื่อว่าท่าน สันทัดและบรรลุโดยลักษณะเดียวกัน ด้วยความส่าเร็จใน จตุตถานนั่นเอง เป็นเหตุให้แม่ชีบุญเรือน เป็นนักเสียสละชั้นยอด มีอารมณ์วางเฉย เป็น อุเบกขา สละความโลภ ความอยากได้ในทรัพย์สินต่าง ๆ อย่างสิ้นเชิง ดังนั้นคนที่รู้จักแม่ชีบุญเรือน มาก่อนก็ดี หรือเพิ่งจะมารู้จักก็ดี จะทราบคติธรรมข้อหนึ่งว่า “ คนที่จะไปหาท่าน จงไปหาด้วยการเป็นผู้รับ ส่วนท่านเป็น ผู้ให้ เป็นผู้เสียสละ เป็นผู้บริการ” ท่านไม่ต้องการสิ่งใดของใคร แม้แต่ดอกไม้ ธูปเทียน ทรัพย์สินเงินทองใด ๆ ทั้งสิ้น